Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านคุณภาพด้านทุนสังคม และด้านการยอมรับและความเชื่อที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ค่าสถิติ พื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพและด้านทุนสังคม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 299.80, df เท่ากับ 301, ค่า p เท่ากับ .51 ดัชนี GFI เท่ากับ .96, NFI เท่ากับ .98, NNFI เท่ากับ 1.00, CFI เท่ากับ 1.00, RMSEA เท่ากับ .00, RMR เท่ากับ .02, และค่า SRMR เท่ากับ .04 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลได้ร้อยละ 46 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพและด้านทุนสังคม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยด้านคุณภาพ มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .44 และด้านทุนสังคม มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .10 เป็นสาเหตุทั้งทางตรง และทางอ้อมเชิงบวกต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลที่พัฒนาขึ้นโดยส่งผ่านความพึงพอใจ ความมีประโยชน์และการใช้งานส่วนตัวแปรความมีประโยชน์มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .24 และการใช้งาน มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .54 เป็นสาเหตุทางตรงเชิงบวกต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขณะที่ตัวแปรความพึงพอใจไม่เป็นสาเหตุทางตรงต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล