DSpace Repository

ปัจจัยด้านคุณภาพและทุนสังคมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisor ปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.author อัญชลิกา เฟื่องฟุ้ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:07Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:07Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10059
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านคุณภาพด้านทุนสังคม และด้านการยอมรับและความเชื่อที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ค่าสถิติ พื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพและด้านทุนสังคม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 299.80, df เท่ากับ 301, ค่า p เท่ากับ .51 ดัชนี GFI เท่ากับ .96, NFI เท่ากับ .98, NNFI เท่ากับ 1.00, CFI เท่ากับ 1.00, RMSEA เท่ากับ .00, RMR เท่ากับ .02, และค่า SRMR เท่ากับ .04 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลได้ร้อยละ 46 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพและด้านทุนสังคม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยด้านคุณภาพ มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .44 และด้านทุนสังคม มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .10 เป็นสาเหตุทั้งทางตรง และทางอ้อมเชิงบวกต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลที่พัฒนาขึ้นโดยส่งผ่านความพึงพอใจ ความมีประโยชน์และการใช้งานส่วนตัวแปรความมีประโยชน์มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .24 และการใช้งาน มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .54 เป็นสาเหตุทางตรงเชิงบวกต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขณะที่ตัวแปรความพึงพอใจไม่เป็นสาเหตุทางตรงต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject การศึกษาทางไกล
dc.title ปัจจัยด้านคุณภาพและทุนสังคมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Effect of qulity nd socil cpitl on cdemic success in distnce lerning for lower secondry school students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model having four factors (quality, social-capital, acceptance, and belief) impacting on the distance learning success of lower secondary school students. The research consisted of 450 students selected with stratified sampling. A five-rating scale questionnaire was employed as the research instrument. SPSS was used to derive descriptive statistics and LISREL was used to validate the causal relationship model. The results were as follows: 1. The casual relationship model of quality and social-capital factors that affect distance learning success was consistent with empirical data. The overall model fit indices were Chi-Square ( χ2 ) =299.80, df = 301, p=.51, GFI=.96, NFI=.98, NNFI=1.00, CFI=1.00, RMSEA= .00, RMR= .02 and SRMR= .04. The model could significantly explain 46 percent of the variation in the distance learning success measures. 2. The causal relationship model involving quality and social-capital factors influences the development of distance learning success. It consists of variable quality factors with an influence magnitude of .44, and a social-capital factor influence with magnitude .10. Both direct, indirect, and positive causes of distance learning success are developed through satisfaction, usefulness, and usability. The useful variable has an influence size of .24. For usability, an influence size of 0.54 was noted, so it has a positive direct effect on distance learning success; this was statistically significant at .01. While the satisfaction factor was not a direct cause of success in distance learning.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account