Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับข่าวสารผ่านการสื่อสารองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา 2) ศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาในมุมมองของบุคลากร 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับการเปิดรับข่าวสารผ่านการสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยบูรพา 4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาในมุมมองของบุคลากร 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารผ่านการสื่อสารองค์กรของบุคลากรกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาในมุมมองของบุคลากร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ขอบเขตการศึกษา ได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ทดสอบสมมติฐานสถิติอ้างอิง t-Test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัม พันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการศึกษา พบว่า 1) บุคลากรมีการเปิดรับข่าวสารของฝ่ายสื่อสารองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x̅ = 2.08) และประเภทของสื่อที่บุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพาส่วนใหญ่เลือกเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อสารองค์กรเป็นอันดับหนึ่ง คือ สื่อสังคมออนไลน์มีจำนวน 291 คน คิดเป็นร้อยละ 80.62 2) ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพาในมุมมองของบุคลากรอยู่ในระดับดี (x̅ = 3.69) 3) รายได้ อายุ ระดับการศึกษาและประเภทของบุคลากรที่ต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารผ่านการสื่อสารองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศที่ต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารผ่านการสื่อสารองค์กรไม่แตกต่างกัน 4) บุคลากรที่มีการเปิดรับสื่อต่างกันมีมุมมองภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 5) การเปิดรับข่าวสารของฝ่ายสื่อสารองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาภาพรวมที่ความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r = .280) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01