Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเขตพื้นที่บางพระและเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัด และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) หรือค่าสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inference statistics) ได้แก่ ttest การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of Variance: One-way ANOVA) หรือ F-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี (Least-square test: LSD) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดหน่วยงานสำนักงานอธิการบดีและสังกัด และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 4 ปี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระโดยรวมอยู่ระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติด้านนโยบาย/แผนและการบริหารงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความมั่นคงในงาน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเขตพื้นที่บางพระที่มีเพศต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรสายสนับสนุนที่มีอายุต่างกัน พบว่า มีแรงจูงใจในด้านความสำเร็จในการทำงานและด้านความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บุคลากรสายสนับสนุนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน พบว่า มีแรงจูงใจในด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติด้านความรับผิดชอบ ด้านนโยบาย/แผนและการบริหารงาน และภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บุคลากรสายสนับสนุนที่มีหน่วยงานที่สังกัดต่างกัน พบว่า มีแรงจูงใจในด้านสภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และบุคลากรสายสนับสนุนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า มีแรงจูงใจในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05