กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9997
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงานของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมไม้จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors predicting occuptionl lung disese prevention behvior mong employees in wood industries, smutprkrn province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุวดี ลีลัคนาวีระ นิสากร ชีวะเกตุ จิตรประภา รุ่งเรือง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปอด มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน ปอด -- โรค |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | พฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงานเป็นปัจจัยที่ช่วยปกป้องสุขภาพของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมไม้เพื่อลดโอกาสสัมผัสสิ่งคุกคามต่อระบบทางเดินหายใจ การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงานของลูกจ้างโรงงานในอุตสาหกรรมไม้โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Model กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมไม้ ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 272 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงาน อาการระบบทางเดินหายใจความรู้เรื่องโรคปอดจากการทำงาน ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการทำงาน การจัดสภาพแวดลล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงาน นโยบายความปลอดภัยในการทำงาน และการได้รับการเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง คือ การได้รับการเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงาน (β = .209) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการทำงาน (β = .434) และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงาน (β = .309) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดจากการทำงานของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมไม้ได้ร้อยละ 38.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (R 2 adj= 0.381, p< .001) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รับการเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรม ป้องกันโรคปอดจากการทำงานอย่างสม่ำเสมอทั้งทางบวกและทางลบให้รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานเสมอเพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคปอดจากการทำงานอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9997 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59920422.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น