กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9983
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.advisorนัยนา พิพัฒน์วณิชชา
dc.contributor.authorยมนา ชนะนิล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:51Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:51Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9983
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractพฤฒพลังเป็นกระบวนนําไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุในสภาวะสังคม ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีภาวะพฤฒพลังจึงมีความสําคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานีและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ การศึกษา รายได้ ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณกับภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี จํานวน 97 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเอง แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และแบบประเมินภาวะพฤฒพลัง ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88, .95, .80 และ .91 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานีอยู่ในระดับสูง ( X = 117.16, SD = 13.81) รายได้ ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะพฤฒพลังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = .24,p= .018, rs = .53, p< .001, r = .56, p< .001 และ r = .25,p= .013 ตามลําดับ) อายุและการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะพฤฒพลังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การจะส่งเสริมภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุพยาบาลบุคลากรด้านสุขภาพ ตลอดจนภาคีเครือขายที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะพฤฒพลัง ได้แก่ รายได้ ความสามารถในการดูแลตนเองการสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพหรือภาวะพฤฒพลังเพิ่มขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectชราภาพวิทยา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
dc.title.alternativeFctors relted to ctive geing mong community dwelling older dults in ubon rtchthni province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeActive ageing is processes that lead older adults to have good quality of life that supporting older adults to have active ageing is very important for the current social situation. The objectives of this correlational research were to study the level of active ageing among community-dwelling older adults in Ubon Ratchathani and to study the relationship among the selected factors such as age, education, income, self-care agency, social support, spiritual well-being and the active ageing among community dwelling older adults in Ubon Ratchathani. The sample was 97 older adults in Ubon Ratchathani who were randomly selected by the multi-stage sampling. The research instruments include the interview form of self-care agency, social support, spiritual well-being and the active ageing scale with the reliability coefficient of .88, .95, .80, and .91 respectively. To analyze the data frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson productmoment correlation coefficient, and Spearman rank correlation coefficient were employed. The results of this research showed a high level of active ageing among the community dwelling older adults in Ubon Ratchthani ( X = 117.16, SD = 13.81). There was a positive relationship among income, self-care agency, social support and spiritual well-being were related to the active ageing at the .05 level of significance. (rs = .24, p= .018, rs = .53, p< .001, r = .56, p< .001, r = .25, p= .013 respectively). Age and educational were not related to the level of active ageing at the .05 level of significance. The results from this study suggested that suggested that there should be a promotion of the health personnel, nurse and the related associate networks in the awareness of the factors which are related to the level of active ageing such promotions are in terms of income, self care agency, social support and spiritual well-being that will enhance them to be the potential older adults or have higher level of active ageing.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920030.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น