กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9967
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิง : กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting drug offenders offenses femle inmtes: cse study suphn buri prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุรัตน์ อนันทนาธร
ปภาวี ทับห่วง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ยาเสพติด
นักโทษหญิง
กฎหมายยาเสพติด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิง:กรณีศึกษา เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรีและเพื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิง: กรณีศึกษา เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 219คน การวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way - ANOVA) ถ้าพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติจะ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference: LSD) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรีที่ตอบแบบสอบถาม มีปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิง: กรณีศึกษา เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย=2.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย=2.87) ปัจจัยด้านสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย=2.63) และอยู่ในระดับน้อย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย=2.35) และปัจจัยด้านครอบครัว (ค่าเฉลี่ย=1.90) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเมื่อวิเคราะห์จากผลการวิจัย พบว่า ผู้องขังหญิงเรือนจำ จังหวัดสุพรรณบุรี มีปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิง: กรณีศึกษา เรือนจำ จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจัยด้านครอบครัวน้อยที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อม ผู้วิจัย มีความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดียาเสพติด ในเรื่องดังกล่าวฯ ข้างต้นหรือนำผลการวิจัยไปพัฒนาต่อยอดต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9967
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920324.pdf1.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น