กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9961
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชติสา ขาวสนิท | |
dc.contributor.author | ธุวพล ทองอินทราช | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:36:19Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:36:19Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9961 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวาทกรรมว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาวาทกรรมทางนโยบายโสเภณีไทยในยุคสมัยก่อนการพัฒนายุคสมัยแห่งการพัฒนาและยุคสมัยปัจจุบัน เพื่อมุ่งตอบคำถามว่าในแต่ละยุคมีบริบทเป็นอย่างไร มีการก่อรูป การต่อต้านทางวาทกรรมอย่างไร และมีตัวแสดงที่สำคัญ ทางวาทกรรมอย่างไรบ้างผลจากการศึกษาพบว่ายุคสมัยก่อนการพัฒนาบริบทที่สำคัญในยุคนี้ คือ อยู่ภายใต้การปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีระบบศักดินาเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคม การก่อรูปของวาทกรรมทางนโยบายโสเภณีในยุคนี้มีตัวแสดงที่สำคัญ คือ พระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ก่อรูปทางนโยบายโสเภณีภายใต้การครอบงำของความคิดหลักทางเศรษฐกิจในยุคนี้ มีการต่อต้านวาทกรรมทางนโยบายดังกล่าวโดยตัวแสดงหลัก คือ เจ้าภาษีนายอากรอันเนื่องมาจากปัญหาในการประมูลการจัดเก็บภาษีโสเภณี ผลนำไปสู่การตอบโต้ของรัฐโดยการตราพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรคใช้บังคับเพื่อรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ กษัตริย์แต่เพียงผู้เพียวกระทั่งเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาที่อยู่ภายใต้บริบทที่สำคัญ คือ การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก มีรัฐธรรมเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคม การก่อรูปของวาทกรรมทางนโยบายโสเภณีในยุคนี้มีตัวแสดงที่สำคัญในการก่อรูป คือรัฐบาลที่มีบทบาทหลักในฐานะผู้กำหนดและวางแนวนโยบายเรื่องโสเภณีอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติปัญหาเรื่องโสเภณีถึงแม้จะถูกกำหนดให้ผิดกฎหมายไม่อนุญาตให้มีการขายบริการทางเพศดังเช่นในยุคก่อนการพัฒนาแต่ในทางปฏิบัติก็มิได้มีการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐอย่างเคร่งครัด ก่อให้เกิดการต่อต้านทางวาทกรรม โดยตัวแสดงที่มีอิทธิพลต่อนโยบายโสเภณีของรัฐไทย คือ สันนิบาตชาติและสหประชาชาติ โดยการครอบงำผ่าน ทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบตะวันตกผล คือ นำไปสู่การปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโสเภณีเพื่อให้ สอดคล้องกับการต่อต้านดังกล่าวจนกระทั่งเข้าสู่ยุคปัจจุบัน วาทกรรมทางนโยบายโสเภณีอยู่ภายใต้กรอบ ความคิดแบบถูกผิดตามบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งของนโยบายรัฐในยุคนี้ การก่อรูปวาทกรรมทางนโยบายโสเภณีมีตัวแสดงหลัก คือ รัฐบาลและกลไกอำนาจรัฐที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้นิยามและ กำหนดนโยบายโสเภณีสู่การปฏิบัติ แต่เนื่องจากบริบททางสังคมไทยยุคปัจจุบันที่มีความแตกต่างจากในอดีตของทั้งสองยุคที่ผ่านมา คือ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน ผลักดันให้เกิดกระแสการต่อต้านทางวาทกรรมทางนโยบายที่ครอบงำปัญหาเรื่องโสเภณี ในลักษณะของความคิดแบบถูกหรือผิดตามบทบัญญัติของ กฎหมายสู่การเสนอกรอบความคิดทางนโยบายโสเภณีในลักษณะอื่น ๆ โดยมีตัวแสดงหลัก คือ กลุ่มองค์กร พัฒนาเอกชนที่พยายามเสนอรูปแบบของแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโสเภณีเพื่อโต้ตอบรัฐ ผล คือ นำไปสู่การตอกย้ำวาทกรรมทางนโยบายโสเภณีของรัฐไทยโดยการตรากฎหมายหลายฉบับ เพื่อใช้บังคับกำกับนโยบาย และประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโสเภณีในสังคมไทย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.subject | โสเภณี -- ไทย | |
dc.subject | การค้าประเวณี -- ไทย | |
dc.title | วาทกรรมว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทย | |
dc.title.alternative | Discourse on sex worker in thi society | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The study of discourse on sex workers in Thai society aimed at studying on discourse on policies related to sex workers in pre-development, development, and present eras in order to find out context, policy formation, counter-discourse, important discourse actors. The findings revealed that, in pre-development era, the significant context was that the society was under absolute monarchy system; feudal system as an important mechanism determining social relations. The important discourse actors forming policy related to sex worker is the King who played important role in policy formation dominance of economic thoughts. In this era, the main counter-discourse actors were tax collectors due to problems related to prostitution tax, causing government's response in form of enactment of Infectious Disease Prevention Act to centralize the power for the King. In development era, the important context was the influence of Western democratic system; constitution was an important mechanism determining social relations. The important discourse actor forming policy related to sex workers was the government as it established policy related to prostitution. However, problems with prostitution, although it becomes illegal and prohibited which was different from pre-development era, the policy was not strictly complied in practice. This caused a counter-discourse to policy related to prostitution of Thai Government; the main actors were Leagues of Nations and United Nations by dominating through Western democratic thoughts. Consequently, there were adjustments of laws related to prostitution to fit in such counter-discourse. In present era, the discourse on policy related to prostitution is considered and judged based on legal perspective which is an important mechanism of government policy. In this era, the important discourse actors forming policy related to sex workers were the Government and its related state power mechanism as it defined, established and implemented policy related to prostitution. Thai society at present is different from 2 former eras due to rapid and complicated changes. Consequently, an emerging counter-discourse policy related to problems with prostitution was according to legal perspective or laws, leading to prostitution policy proposals mainly initiated by NGO, an important actor attempting to propose new policies related to prostitution in response to Government measures. As a result, the discourse on prostitution of Thai government is reinforced in form of several enactments of laws so as to enforce policies and settle issues related to sex workers in Thai society. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.degree.name | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57820023.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น