กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9960
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัยณรงค์ เครือนวน
dc.contributor.authorภคพล เส้นขาว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:36:19Z
dc.date.available2023-09-18T07:36:19Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9960
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการปรับตัวของชาวนามุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกฝั่งตะวัรออก (หนองจอกคลองสามวาและมีนบุรี) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีต่อพลวัตของชาวนามุสลิม กลไกการปรับตัว และนำเสนอทางเลือกในการปรับตัว ผลการศึกษาพบว่า ชาวนามุสลิมมีปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญ 6 เงื่อนไขประกอบไปด้วย 1. อิทธิพลของระบบตลาด ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมส่งผลให้ชาวนาสูญเสียที่นาและที่อยู่อาศัย 2. สถานการณ์การแตกตัวทางชนชั้นที่ส่งผลให้เกิดการคลายตัวของแรงยึดเหนี่ยวภายในชุมชน โดยแบ่งกลุ่มชาวนา ออกเป็นสองกลุ่ม คือ ชาวนาที่สามารถรักษาปัจจัยการผลิตเอาไว้ ได้แก่ และชาวนาที่ไม่สามารถรักษา ปัจจัยการผลิตเอาไว้ได้ 3. บทบาทและกลไกของรัฐที่ทำให้ชาวนาต้องพึ่งพาภาครัฐและไม่พัฒนา คุณภาพการผลิต 4. ความต้องการในการสืบทอดอาชีพของบรรพบุรุษที่สามารถพบได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มชาวนาสูงวัยและชาวนารุ่นใหม่ 5. หลักการของศาสนาอิสลามในเรื่องการไม่ยึดติดในทรัพย์สิน และการรวมกลุ่มในชุมชน 6. การขยายตัวของเมืองที่ส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมลดลง สำหรับกลไกการปรับตัวประกอบไปด้วย 1.การสร้างนวัตกรรมจากรากหญ้าอันเป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชน 2. การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่การพึ่งตนเองโดยมีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญจาก 2 อุดมการณ์ คือ แนวคิดอนาธิปัตย์นิยมและแนวคิดศาสนนิยม 3.การรวมกลุ่มเพื่อต่อรองกับระบบตลาดโดยมีรูปแบบการก่อตัวของการเงินชุมชน การก่อตั้งสหกรณ์อิสลาม การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการรวมกลุ่มของสตรี 4. การประกอบธุรกิจและหารายได้เพิ่มเติมนอกภาคการเกษตร ส่วนทางเลือกในการปรับตัวของชาวนามุสลิม ประกอบไปด้วย 1. การปรับตัวภายใต้วิถีการผลิตแบบทุนนิยม มี 2 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนรูปไปเป็นชาวนาเช่าและการปรับวิถีการผลิตบนที่ดินของตนเอง 2. การปรับเปลี่ยนสู่แนวทางอนาธิปัตย์นิยม เช่น การรวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างเครือข่ายในการปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตสู่การพึ่งตนเองการยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิธีการพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสาน 3. การพัฒนาตามแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน ได้แก่ การจัดการปัญหาหนี้สินด้วยระบบสหกรณ์อิสลาม การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุนมนุษย์ทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.subjectชาวนา
dc.titleการปรับตัวของชาวนามุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกฝั่งตะวันออก
dc.title.alternativeThe dptbility of muslim pesnts in estern bngkok
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of the study of Muslim peasants’ adaptability in eastern Bangkok (Nong Chok, Klongsamwa, and Minburi), is to learn about factors and conditions that affect the dynamic of Muslim peasants and the adjustment mechanism. It is also to provide alternative for them to adjust themselves. The results show 6 factors which are, 1. The influence of marketing system under capitalism causes them to lose their land and property, 2. The situation of class disintegration separated them to 2 categories: one who can keep their production factor, but the other cannot, 3. The Thai government’s role in the economy which they rely on and their inability to improve their quality production, 4. The propose of agricultural inheritance were inherited by 2 different generations which are, senior and novice, 5. The Islamic principle not to focus on asset, but they support community integration, 6. The urban expansion that reduced agricultural land. The adjustment mechanism includes, 1. The creation of grassroots’ innovation from their knowledge, 2. The improvement of production to be self-reliance is based on 2 theories: anarchism, and religionism, 3. The integration marketing system negotiation forms a financial community, Islamic cooperation, community enterprise and women’s group, 4.Finding the other carriers or building their own business. The alternative for Muslim peasants improvement consists of 1. Adjustment under productive capitalism which may be divided to 2 forms: change to produce in rented land, and improve the production in their own land, 2. Adjustment to anarchism which forms a group to be self-reliance, the sufficiency economic theory which has improved integrated agriculture, 3. Development of the culture community concept such as the debt reduction by Islamic cooperation, the empowering human, social, and cultural capital.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57820026.pdf7.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น