กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9959
ชื่อเรื่อง: เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการสะสมทุนทางการเมืองของตระกูลเทือกสุบรรณ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Politicl economy of politicl ccumultion: cse study of thugsubn fmily
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยณรงค์ เครือนวน
มาดล จรูญรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ทุนในการหาเสียง
นามสกุล -- เทือกสุบรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองแนววัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสัญลักษณ์ที่เป็นเงื่อนไขจำเป็นในการสะสมทุนทางการเมือง เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขเพียงพอในสนามแห่งอำนาจนำไปสู่อำนาจทางการเมืองและเพื่อศึกษากระบวนการสะสมทุนทางการเมืองไปสู่การมีอำนาจทางการเมืองของตระกูลเทือกสุบรรณ ผลการศึกษาพบว่า ตระกลูเทือกสุบรรณมีการสะสมทุนทั้ง 4 รูปแบบ ดังนี้ 1. การสะสมทุนทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม การรับราชการและการทำธุรกิจส่วนตัว 2. การสะสมทุนทางสังคม ได้แก่ การอุทิศตนเพื่อสังคม การจัดตั้งสหกรณ์การจัดทำโครงการและสร้างกลุ่มเครือข่าย 3. การสะสมทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ การศึกษา สถาบันการศึกษา สโมสรฟุตซอล และอุดมการณ์ทางการเมือง 4. การสะสมทุนทางสัญลักษณ์ได้แก่ รางวับแหนบทองคำ กำนันประเทศนอก ลุงกำนัน และเสียงนกหวีด นำมาสู่ทุนทางการเมืองผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขเพียงพอในสนามแห่งอำนาจนำไปสู่อำนาจทางการเมือง คือ 1. ระบบอุปถัมภ์ได้แก่ ผู้ให้-ผู้รับการอุปถัมภ์ กลุ่มเครือญาติและกลุ่มพรรคพวกเพื่อนฝูง 2. พรรคการเมือง ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของพรรคการเมือง ชื่อเสียง-ผลงานของพรรคการเมือง และงบประมานของพรรคการเมือง 3. สนามทางสังคม ได้แก่ ชุมชน ข้าราชการการทำธุรกิจและการเมืองท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสะสมทุนทางการเมืองไปสู่การมีอำนาจทางการเมือง คือ 1. การใช้ทุนทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การใช้ในรูปแบบของเครือข่ายทางธุรกิจค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินทุนการหาเสียง การศึกษา ทุนการศึกษา และภาษีสังคม 2. การใช้ทุนทางสังคม ได้แก่ การใช้ในรูปแบบของการเป็นคนในพื้นที่เป็นคนในสังคม เป็นนักพัฒนาสังคม และการใช้ตำแหน่งหน้าที่ 3. การใช้ทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ การใช้ในรูปแบบของความเป็นตัวตน สถาบันการศึกษา และกีฬา 4. การใช้ทุนทางสัญลักษณ์ ได้แก่ การใช้ในรูปแบบของคุณงามความดี ความรู้ความสามารถผู้นำแห่งการต่อสู้การคัดค้าน และผู้ให้ใจบุญ ผลการปฏิสัมพันธ์ของทุน รูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้นำไปสู่การสะสมทุนทางการเมืองของตระกูล เทือกสุบรรณ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9959
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57820027.pdf6.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น