กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9939
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภูวษา เรืองชีวิน | |
dc.contributor.advisor | มนัส แก้วบูชา | |
dc.contributor.author | ประดิพัทธุ์ เลิศรุจิดำรงค์กุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:36:13Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:36:13Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9939 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการต้นแบบศูนย์ข้อมูลเพื่อการศึกษาและท่องเที่ยว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สรุปเป็นแนวคิดในการนำเสนอรูปแบบการจัดการศูนย์ข้อมูลต้นแบบเพื่อการศึกษา และท่องเที่ยวโดยใช้พื้นที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองเป็นกรณีศึกษา ในการเผยแพร่ ความรู้ให้ข้อมูลด้านการศึกษาและท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว จากการสำรวจข้อมูล พบว่า พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง มีศักยภาพที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวแต่ยังขาดแหล่งเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานทางด้านความถูกต้องของเนื้อหาที่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการ จากการศึกษากลุ่มประชากรวิจัย มีความเห็นสอดคล้องกันที่จะให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง เป็นจุดตั้งต้นในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางวิชาการและข่าวสารการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้เข้าไปสู่แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทองกลุ่มประชากรวิจัย ประเภทผู้รับบริการทั้งสามกลุ่มวัย มีความสนใจข้อมูลทางด้านวิชาการและท่องเที่ยว ต่างเห็นควรให้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อการศึกษาและเรียนรู้การท่องเที่ยวโดยควรมีการเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลายด้าน อย่างครบครัน ควรมีการสร้างสื่อที่หลากหลายให้ตอบสนองความต้องการทั้งสามกลุ่มวัย ทั้งการนำเสนอข้อมูลภายในอาคารและกลางแจ้ง จากการทดลองสร้างต้นแบบความคิดเชิงการบริหารศูนย์ข้อมูล ฯ โดยใช้ผลวิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่าง แต่ละกลุ่มนำมาประมวลผล พบว่า กรอบการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการในการจัดตั้งศูนย์ฯ จะต้องประกอบไปด้วย หลักการด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การบริหารองค์กรการบริหารงานบุคคลการจัดการพื้นที่การจัดการหมวดความรู้การสร้างสื่อ การให้บริการเทคนิคและดูแล องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้หากนำมาดำเนินการให้สอดคล้องกัน จะทำให้องค์กรสามารถก่อตั้งขึ้นมาได้และดำเนินไปอย่างยั่งยืน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว | |
dc.subject | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม | |
dc.title | แนวทางการจัดการต้นแบบศูนย์ข้อมูลเพื่อการศึกษาและการท่องเที่ยว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี | |
dc.title.alternative | Guidelines of mnging resouses for eduction nd tourism centre t u -thong ntionl museum suphn buri province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The research of Guidelines of Managing Resources for Education and Tourism Centre at U -Thong National Museum, Suphan Buri Province aims at implementing the results of analysis to create concepts for proposal of the model for Managing Resources for Education and Tourism Centre at U -Thong National Museum, Suphan Buri Province by using the area of U-Thong National Museum as the case study for providing knowledge of education and tourism to visitors. According to the survey, it was found that the special area of U-Thong Ancient City has potentials to attract tourists to study and do sightseeing. However, it still lacks the information sources to provide knowledge and the sources which are certified for standard of information accuracy and accepted by scholars. Based on the research population, it was unanimously agreed that U -Thong National Museum should be the center providing academic and tourist information which tourists can rely on when they visit tourist attractions located at the special areas for sustainable tourism in U-Thong Ancient City. The research populations, including three age ranges, were interested in academic and tourist information. Therefore, it was recommended that a variety of information should be available for access, and several media should be created to meet the needs of all three age groups and should include both indoor and outdoor presentations. By building of conceptual model for resources management based upon the analysis results obtained from each sample group, it was found that the important factors influencing the achievement of the center establishment consist of various principles such as organizational administration, personnel management, area management, knowledge management, media creation, service provision, and techniques which must be combined appropriately to enable the establishment and ensure sustainable operation of the center. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57810083.pdf | 27.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น