กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9938
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorบุญชู บุญลิขิตศิริ
dc.contributor.advisorเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์
dc.contributor.authorมณีวรรณ ศรีมหรรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:36:13Z
dc.date.available2023-09-18T07:36:13Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9938
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลาย ขณะทำงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ รวมถึงอาการเมื่อยล้าและการผ่อนคลายของผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบชุดอุปกรณ์เสริมที่ใช้สำหรับเก้าอี้เพื่อการผ่อนคลายในขณะทำงานโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ได้จาก ยางพาราเป็นการส่งเสริมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุยางพารา ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาและพัฒนาชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้สำนักงานจากวัสดุยางพาราเพื่อการผ่อนคลายในขณะทำงานนั้นพฤติกรรมการทำงานของคนที่นั่งทำ งานหน้าคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาในการนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาอาการปวดเมื่อยและความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงาน พบว่า อาการปวดเมื่อยดังกล่าว อยู่บริเวณช่วงคอตลอดจนแผ่นหลัง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสร้างผลิตภัณฑ์ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการนั่งทำงานของผู้ใช้งานหรือผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ในรูปแบบใหม่ มีคุณค่าที่ได้จากการนำวัสดุเศษยางพาราที่เหลือใช้มาแปรรูปและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เกิดประโยชน์และเกิดการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุยางพาราให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่จากการใช้เศษวัสดุยางพารามาแปรรูป จนเกิดความสวยงาม น่าใช้และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยอีกทั้งยังได้พัฒนาชุดอุปกรณ์เสริม สำหรับเก้าอี้ที่ช่วยลดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยได้ทำการออกแบบชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ จำนวนทั้งสิ้น 4 ชุด แบ่งออกเป็น 11 ชิ้นประกอบไปด้วย 1) ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 1 จำนวน 2 ชิ้น 2) ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 2 จำนวน 3 ชิ้น 3) ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 3 จำนวน 3 ชิ้น และ 4) ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 4 จำนวน 3 ชิ้น เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากวัสดุยางพาราเพื่อการผ่อนคลายในขณะทำงานในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มพนักงานออฟฟิศจำนวนทั้งสิ้น 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 จาก 100 คนในการเก็บแบบสอบถาม โดยทั้ง 10 คนใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการประเมินรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ชุด ผลปรากฏว่า ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ที่ระดับพึงพอใจมากโดยระดับความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.37 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ที่ระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยระดับความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.72 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ชุดที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ที่ระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยระดับความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.72 และผลการทดสอบความพึงพอใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ชุดอุปกรณ์เสริม สำหรับเก้าอี้ชุดที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ที่ระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยระดับความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.79 จากค่าเฉลี่ยระดับเกณฑ์การประเมินของผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ชุด สรุปได้ว่า ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ทั้ง 4 ชุดจัดอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยในระดับพึงพอใจมากถึงมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectอุตสาหกรรมเก้าอี้
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subjectสินค้ายางพารา
dc.subjectเฟอร์นิเจอร์
dc.titleการออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลายขณะทำงาน
dc.title.alternativeThe design ccessories for chirsfrom rubber for relxtion while working
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study, the design and development of chairs from rubber for relaxation while working, aim to study the behavior working in front of the computer, including fatigue and relaxation of the people sitting in front of the computer, in order to design a set of accessories for the chair to relax while working. The design also utilizes natural rubber and therefore promote the product creation from rubber materials. The result of the study shows that the working behavior of people sitting in front of the computer includes long period of sitting still, resulting in the problem of pain and fatigue from sitting. It was found that the pain is located in the neck and the back of torso. In this regard, the researcher has created a set of chair accessory products in response to the sitting behavior of the user or the person sitting in front of the computer in order to achieve the new form of accessory products for the chair. It also adds value to the waste rubber materials through the processing and creation of useful products, which encourage utilization of rubber scrap into unique, beautiful, and functional products. In addition, the researcher developed a set of accessories for the chairs which help reduce the pain among the group of people who sit and work in front of the computer and increase their efficiency. The researcher has designed 4 sets of accessories for the chair. In total, there are 11 pieces which consist of 1) chair accessory set with 2 items 2) chair accessory set with 3 items 3) chair accessory set with 3 items 4) chair accessory set with 3 items. These prototypes were tested with sample group. For the assessment of the satisfaction level from the chair accessory products in this study, ten office workers were selected as the target group, which represent 10 percent of the 100 people in the questionnaire collection. The sample group answered the satisfaction questionnaire to evaluate the prototypes. The results showed that the overall satisfaction in using the accessories for the first set is very high (4.37). The satisfaction level is even higher for the second set and the third set, which both receive 4.72. The fourth set of chair accessories received the highest satisfaction level at 4.79. In conclusion, all 4 sets of chair accessories receive the highest level of satisfaction from the sample group.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920298.pdf7.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น