กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9936
ชื่อเรื่อง: สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้โบราณสถานที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Digitl lerning tool for the ruined, design study t wt chedi chet theo,si stchnli historicl prk, sukhothi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาติ เถาทอง
อติเทพ แจ้ดนาลาว
สุริยา รัตนะวงศ์กุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
โบราณสถาน -- สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้โบราณสถานที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และอิทธิพลของศิลปะของอาณาจักรต่าง ๆ รอบอาณาจักรสุโขทัยที่มีต่องานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และบริบทของอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย 2) เพื่อศึกษาและเก็บบันทึกข้อมูลรูปแบบลักษณะของเจดีย์รวมถึงลวดลายปูนปั้นปัจจุบัน ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว และนํามาใช้ในการสร้างรูปแบบสันนิษฐานสองมิติ และสามมิติ 3) เพื่อออกแบบโครงสร้างข้อมูลบนสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างรูปแบบการศึกษา “ประวัติศาสตร์ศิลปะแนวใหม่” ที่ง่ายต่อการรับรู้และทําความเข้าใจในการเที่ยวชมโบราณสถานโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป รวมทั้งเป็นการตอบรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการสื่อสารในโลกของยุคดิจัทัล กรอบแนวคิดของการทําวิจัยนั้น ต้องการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทั้งภาคเอกสารและข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ปัจจุบันของวัดเจดีย์เจ็ดแถว ผลจากการเก็บข้อมูล สัดส่วนพื้นที่ของเจดีย์ รูปปั้น ลายปูนปั้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างของเจดีย์ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นหลักในการศึกษา และศึกษารูปแบบของเจดีย์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะและวัฒนธรรมของสุโขทัยในช่วงแรก และช่วงหลังที่สืบทอดต่อมาในยุคของอยุธยาและรัตนโกสินทร์ นําไปสู่การเปรียบเทียบเพื่อสันนิษฐานรูปแบบที่ขาดหายหรือพังทลายลงไป ผลการวิจัยในส่วนของรูปแบบเจดีย์สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบคือ เจดีย์ทรงดอกบัวตูม เจดีย์ทรงปราสาท และเจดีย์ทรงระฆัง จากผลวิจัยดังกล่าวนําไปสู่การสร้างเครื่องมือการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการศึกษา ทําความเข้าใจ และเข้าถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์อ้างอิงกับการสังเกต แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ นักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยวในโบราณสถานเพื่อนํามาออกแบบสื่อการเรียนรู้โดยจะนําเสนอผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่บนเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่กล่าวคือการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม จากการสํารวจความพึงพอใจของการใช้งานแอปพลิเคชัน จากกลุ่มผู้ใช้งาน 30 ท่าน พบว่า 10% เห็นว่าการนําเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยู่ในขั้นเข้าใจง่ายมาก 66.67% เข้าใจ และอีก 23.33% พอเข้าใจ ในส่วนของการแสดงข้อมูลของรูปแบบเจดีย์หลักและส่วนย่อย 23.33% เข้าใจง่ายมาก 71.67% เข้าใจ และ 5% พอเข้าใจ ในส่วนข้อสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพความรวดเร็วการใช้งาน 6.67% เห็นว่ารวดเร็วดีมาก 46.67% รวดเร็วดี 46.67% ปานกลาง ในส่วนของความง่ายในการใช้งานส่วนใหญ่เห็นว่าใช้งานง่ายผู้ใช้งานส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ควรพัฒนารูปแบบในการนําเสนอข้อมูลรูปแบบการทํางานของแอปพลิเคชั่น ให้ดีขึ้นเพื่อนําไปใช้งานในโบราณสถานแหล่งอื่น ๆ ด้วย การออกแบบแอปพลิเคชั่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรูปแบบ “การเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ศิลปะแนวใหม่” โดยให้ความสําคัญของการผสมผสานเทคโนโลยี และประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะ สามารถใช้สื่อดิจิทัลในการศึกษาได้ง่ายและชัดเจนขึ้นระหว่างการท่องเที่ยวในโบราณสถาน และยังจะยังผลให้เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่หันมาสนใจความเป็นมาของประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9936
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810078.pdf71.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น