กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9933
ชื่อเรื่อง: ลวดลายประดับตกแต่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี : การประยุกต์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ทองเหลือง ชุมชนบ้านท่ากระยาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Decortive pttern t pr sri rtn mhtt temple lopburi: ppliction to brss product design bn th kryng community
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
ภรดี พันธุภากร
อิษฎ์ รานอก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ศิลปกรรม -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
ศิลปกรรมพุทธศาสนา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตู ลพบุรี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง “ลวดลายประดับตกแต่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดลพบุรี: การประยุกต์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ทองเหลือง ชุมชนบ้านท่ากระยางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมลวดลายประดับตกแต่ง สถาปัตยกรรมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลทะเลชุบศรจังหวัดลพบุรีและแหล่งผลิตหัตถกรรมทองเหลืองบ้านท่ากระยางจังหวัดลพบุรี 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ลวดลายประดับตกแต่งศึกษาจากรูปร่าง สภาพภายนอก สีพื้นผิวรูปแบบลวดลายและผลิตภัณฑ์ทองเหลืองดั้งเดิม เพื่อประยุกต์เป็นแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์และ 3) สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ประเภทของตกแต่งบ้าน และเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทองเหลืองในท้องถิ่น โดยผู้วิจัยลงพื้นที่รวบรวมลวดลายประดับตกแต่ง ปรางค์มหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุจัหงวัดลพบุรีโดยสรุปลวดลายกลุ่มตัวอย่างลวดลายประดับตกแต่ง ศิลปะลพบุรีพบว่า ลวดลายที่มีการวิวัฒนาการสวยงามและโดดเด่น ได้แก่ ลายกรวยเชิง ลายเฟื่องอุบะ ลายหน้ากระดานดอกสี่เหลี่ยม ลายกลีบบัว ลายดอกบัวตูม ลายดอกบัวตูม และลายรูปหงส์ นำมาวิเคราะห์เพื่อการออกแบบ และประยุกต์ เป็นต้น แบบผลิตภัณฑ์ทองเหลือง ชุมชนท่ากระยางจังหวัดลพบุรีโดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลจากการกลุ่มผู้บริโภคและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการสัมภาษณ์นำลวดลายที่ได้คัดเลือก นำมาเขียนแบบร่างต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทองเหลืองต้นแบบประเภทของตกแต่งจำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่ แจกัน โคมไฟ เชิงเทียน และเครื่องแขวนประเภท กระดิ่ง ทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ นำผลิตภัณฑ์ไปจัดแสดงผลงาน และประเมินผลงานการออกแบบ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องแขวนประเภท กระดิ่งและแจกัน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสุดเท่ากันที่ (𝑋̅ =4.70) โคมไฟมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑋̅ =4.64) และเชิงเทียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑋̅ =4.36)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9933
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810081.pdf18.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น