กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9931
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้กระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐานต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยในบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of behvior-bsed sfety (bbs) process to sfety behvior of construction workers in construction contrctor compny t the electricl substtion construction project in pthumthni province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
นันทพร ภัทรพุทธ
ชานนท์ สุจิตวนิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
คนงานก่อสร้าง -- ปทุมธานี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความปลอดภัย และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความปลอดภัยก่อน และหลังการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐาน Behavior-Based Safety (BBS) ของคนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยในบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ใช้เวลาในการดำเนินการ 10 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) แต่งตั้งคณะทำงาน 2) ฝึกอบรม 3) ค้นหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย 4) กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย 5) สังเกตพฤติกรรม 6) ทำการบังคับเชิงบวกเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบสังเกตพฤติกรรม ผลการศึกษาพบว่า คนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษา เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.0 อายุเฉลี่ย 40.16 ปี (SD ±9.485) ส่วนมากจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 44.0 มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในงานก่อสร้างอยู่ในช่วง 1.1 – 20 ปี อายุงานเฉลี่ย 8.84 ปี (SD ±5.375) ส่วนใหญ่ทำงานก่อสร้างทั่วไป ร้อยละ 92.0 ไม่มีประวัติการประสบอันตรายจากการทำงาน หรืออุบัติเหตุในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจากการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยพบว่า คนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษาสามารถปฏิบัติพฤติกรรมความปลอดภัยได้ร้อยละ 100 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ในเรื่องการสวมใส่แว่นตานิรภัยและหน้ากากกรองฝุ่น สัปดาห์ที่ 6 ในเรื่องการสวมใส่หมวกนิรภัย และรองเท้านิรภัย และสัปดาห์ที่ 8 ในเรื่องการใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงก่อนการวิจัยคนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษาส่วนมากมีระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในระดับดี ร้อยละ 40.0 และระดับที่ต้องปรับปรุง ร้อยละ 60.0 หลังจากประยุกต์ใช้กระบวนการ BBS แล้วพบว่าคนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษา มีระดับความพฤติกรรมความปลอดภัย ในระดับดีเป็นร้อยละ 100.0 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p<0.001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า กระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐานสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้หากนำกระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐานมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องคนงานก่อสร้างก็จะเกิดความเคยชิน และปฏิบัติตนเองเป็นอัตโนมัติ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9931
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920189.pdf1.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น