กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9906
ชื่อเรื่อง: การสร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรงโดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A dignostic test construction of problem solving in physics rectiliner motion lerning through the ttribute hierrchy method
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์
ไอลดา มงคลสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: แบบทดสอบวินิจฉัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างแบบสอบวินิจฉัยโดยใช้วิธีลำดับขั้น ของคุณลักษณะ และตรวจสอบคุณภาพด้านความยาก อำนาจจำแนก ความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง และ 3) เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ตัวอย่างวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้จาก การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 360 คน และ 2) ครูฟิสิกส์ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหา วิชาฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ เนื้อหา และคำนวณคะแนนเชิงวินิจฉัย โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเบย์ การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยใช้การวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ ความยาก และอำนาจจำแนก โดยใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบ 2 พารามิเตอร์ ความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในด้วยวิธีของฮอยท์ ผลการวิจัย 1. นักเรียนมีข้อบกพร่องในการแก้โจทย์ปัญหา คือ 1) การอ่านและตีความโจทย์ 2) วิเคราะห์ ความหมายสัญลักษณ์ของตัวแปรของโจทย์ 3) ปัญหาการคำนวณหาค่าต่าง ๆ โดยหน่วยการเรียนรู้ ที่นักเรียนบกพร่องมากที่สุด คือ การเคลื่อนที่ 2. การสร้างแบบสอบวินิจฉัยด้วยวิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ (Attribute hierarchy method) ได้คุณลักษณะจำนวน 7 คุณลักษณะ และได้ Reduced Q Matrix (Qr) ที่มีจำนวนข้อสอบ 13 ข้อ คุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยที่สร้างขึ้นมีค่าความยากระหว่าง (-7.86) - 0.61 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.16 - 61.29 ความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในด้วยวิธี ของฮอยท์เท่ากับ .97 3. ผลการวินิจฉัยข้อบกพร่องส่วนใหญ่พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้อย่างชัดเจนในคุณลักษณะ ด้านความเข้าใจการอ่านโจทย์ และนักเรียนขาดความรอบรู้มากที่สุดในคุณลักษณะด้านการหาความเร่ง ของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9906
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920710.pdf1.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น