กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9864
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A fctor nlysis of student techer’s spirit of fculty of eduction in burph university |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม พงศ์เทพ จิระโร อริศรา แก้วสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา จิตสำนึก |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อพัฒนาแบบวัดระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างของแบบวัดระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 4) เพื่อประเมินจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 5) เพื่อเปรียบเทียบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตที่มีเพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน และ 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจิตวิญญาณความเป็นครูกับเกรดเฉลี่ยรวม และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 520 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การหาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยภาพรวมมี การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านการพัฒนาตนเองด้านความรู้อย่างต่อเนื่อง ด้านความเชี่ยวชาญในการสอน และด้านการปฏิบัติตามหน้าที่ครูตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบ ความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าไค-สแคว์ มีค่าเท่ากับ 976.67 องศาอิสระ เท่ากับ 489 ค่าไค-สแคว์สัมพัทธ์มีค่า 1.99 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.95 ซึ่งมากกว่า 0.90 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.043 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.048 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 โดยเมื่อพิจารณาน้ำหนักองค์ประกอบพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.74-0.89 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแต่ละองค์ประกอบมีสัมประสิทธิ์การอธิบายอยู่ระหว่าง 0.58-0.80 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9864 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58910156.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น