กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9857
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาและความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The influence of new medi informtion exposure behvior on imge nd interest in choosing to study t burph university mong 12th grde students under the secondry eductionl service re office |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศักดินา บุญเปี่ยม สุกัญญา บูรณเดชาชัย ณัฐวิโรจน์ มหายศ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง การเผยแพร่ข่าวสาร มหาวิทยาลัยบูรพา -- การศึกษาต่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาและความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยบูรพา 3) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา 4) เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่กับความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา และ 7) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพากับความสนใจในการเลือกศึกษา ต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 424 ชุด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายปิดและเปิดสถิติที่ใช้คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสหสัมพันธ์แบบ Pearson’s correlation และ Spearman’s rank correlation ผลการศึกษาพบว่า 1) ช่องทางที่มีการเปิดรับเป็นมากที่สุดคือเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 359 คน คิดเป็นร้อยละ 84.70 ความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยรวมของมหาวิทยาลัยบูรพาในระดับดี (X = 4.37) และส่วนใหญ่มีความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 401 คน คิดเป็นร้อยละ 94.60 2) ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของมหาวิทยาลัยบูรพาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกันทำให้ภาพลักษณ์ด้านสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับภาพลักษณ์ทางด้านอื่น ๆไม่แตกต่างกัน 5) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์รวมของมหาวิทยาลัยบูรพาในทิศทางบวก ในระดับน้อย อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 7) ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพามีความสัมพันธ์กับความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา ในทิศทางลบ ในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9857 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
61920056.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น