กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9854
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภัทรภร ชัยประเสริฐ
dc.contributor.authorสิทธิโชค เอี่ยมบุญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:20:10Z
dc.date.available2023-09-18T07:20:10Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9854
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กับหลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติและเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน ที่มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตรื วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test แบบ Independent Sample และการทดสอบ t-test แบบ One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างนีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์
dc.titleการศึกษาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน
dc.title.alternativeA study of cretive thinking nd constructing scientific model bility of twelfth grde students using model-bsed lerning
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to compare creative thinking and constructing scientific model ability after using model-based learning with traditional instruction and to compared creative thinking and constructing scientific model ability after using model-based learning with the 70-percent criterion. The samples were obtained by cluster random sampling of 80 twelfth-grade students studying in the second semester of academic year 2019 at Wat Songtham School. There are 41 students for experimental group and 39 students for control group. The research instrument consisted of model-based learning lesson plans, traditional instruction lesson plans, creative thinking test and constructing scientific model ability test. The data was analyzed using Mean, Standard Deviation, t-test for independent sample and t-test for one sample. The results indicated that: 1. The creative thinking of twelfth-grade students after learning using model-based learning were significantly higher than the traditional instruction at the .05 level of significant. 2. The creative thinking of twelfth-grade students after learning using model-based learning were statistically significantly higher than the 70-percent criterion at the .05 level of significant. 3. The constructing scientific model ability of twelfth-grade students after learning using model-based learning were significantly higher than the traditional instruction at the .05 level of significant. 4. The constructing scientific model ability of twelfth-grade students after learning using model-based learning were statistically significantly higher than the 70-percent criterion at the .05 level of significant.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสอนวิทยาศาสตร์
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920126.pdf178.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น