กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9846
ชื่อเรื่อง: | การติดตามปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่นโดยการใช้ข้อมูลหลายช่วงคลื่นจากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The monitoring of eutrophiction using multi-stellite dtin the upper gulf of thilnd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภูมิพัฒน์ ภาชนะ กฤษนัยน์ เจริญจิตร ศราวุธ เตียงกูล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ยูโทรฟิเคชัน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชีววิทยาน้ำจืด |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ไทยตอนบนเป็นแหล่งรองรับธาตุอาหารจากแม่น้ำสายหลัก มีลักษณะเป็นอ่าวกึ่งปิดทำให้การหมุนเวียนและการถ่ายเทของมวลน้ำเกิดขึ้นได้น้อยส่งผลให้การกระจายตัวของสารอาหารสูงอยู่รวมกันได้นาน โดยเฉพาะช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนสูงจะเกิดการชะล้างธาตุอาหารลงสู่แหล่งน้ำเป็นเหตุให้เกิดภาวะยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ด้วยอุปกรณ์ตรวจวัด MODIS บนดาวเทียม AQUA กับปริมาณธาตุอาหารบนลุ่มน้ำย่อยด้วยแบบจำลอง อุทกวิทยาเชิงกายภาพ (SWAT) บริเวณอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย ในช่วงปีพ.ศ. 2555-2559 ผลการศึกษาพบว่า ดาวเทียม Aqua MODIS มีประสิทธิภาพในการตรวจวัดข้อมูลคลอโรฟิลล์-เอที่ผิวทะเล โดยปริมาณคลอโรฟิลล์-เอที่ผิวทะเลอ่าวไทยตอนบนในรอบปีมีความหนาแน่นสูงในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และมีค่าต่ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และปริมาณน้ำฝน ก่อนหน้าหนึ่งเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น และพื้นที่ป่าไม้ ลดลง มีผลต่อลักษณะการไหลของน้ำท่าและการชะล้างธาตุอาหารบนพื้นดิน ส่งผลให้ปริมาณ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเปลี่ยนไปบนลุ่มน้ำย่อยบริเวณอ่าวไทยตอนบนของแบบจำลอง SWAT ค่าเฉลี่ยปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสบริเวณอ่าวไทยตอนบนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ไม่แตกต่างกันในแต่ละสถานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และยังพบว่าปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงในช่วงเวลาหนึ่งจะส่งผลทำให้มีปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ที่ผิวทะเลหนาแน่นขึ้นในเวลาต่อมา ประสิทธิภาพการประเมินปริมาณธาตุอาหารของแบบจำลอง SWAT บนลุ่มน้ำย่อย บริเวณอ่าวไทยตอนบน ยังไม่มีความถูกต้อง แม่นยำตรงกับสภาพลุ่มน้ำจริงมากนัก เนื่องจากมีข้อจำกัด ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดในพื้นที่จริงไม่อาจนำมาใช้เป็นตัวแทนข้อมูลในการปรับเทียบได้ แต่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานไปสู่การวางแผนการจัดการลุ่มน้ำ การแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ และป้องกันผลกระทบจากการเกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่นได้ในอนาคต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9846 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59910218.pdf | 10.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น