กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9827
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for promoting public prticiption in the sub-district civil society meeting to formulte locl development pln : cse study of nongchk sub-district municiplity, bn bueng district, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา บุญยัง
ธัญณีย์ ศิระโสภณวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: การพัฒนาชุมชน -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลหนองชากโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้นำท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ (2) กลุ่มผู้ใหญ่บ้าน (3) กลุ่มคณะกรรมการชุมชน และ (4) กลุ่มประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น สรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้ (1) ด้านคนพบปัญหาคือ ประชาชนขาดยานพาหนะในการเดินทางติดภารกิจส่วนตัว ไม่เห็นประโยชน์ของการทำประชาคม โดยทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการชุมชน และประชาชนขาดความตระหนักในบทบาทของตนเอง ซึ่งมีข้อเสนอแนะคือเทศบาลควรจัดให้มีบริการรถรับส่งประชาชน เทศบาลควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการจัดทำประชาคมและบทบาทหน้าที่ของตนเองแก่ทุกกลุ่ม (2) ด้านหลักการทำประชาคมตำบล พบว่า ทุกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญตระหนักในความสำคัญของการทำประชาคมว่าเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามเทศบาลควรเพิ่มการประชุมประจำเดือนหรือประชุมสภากาแฟเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของการประชุมประชาคมมาก ยิ่งขึ้น (3) ด้านการสื่อสาร พบว่า ปัญหาคือวิธีการประชาสัมพันธ์ของเทศบาลขาดประสิทธิภาพ ข่าวสารการประชุมไม่กระจายสู่ประชาชน และมีความล่าช้า ส่งผลให้ขาดความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังนั้นเทศบาลควรปรับกลยุทธ์การสื่อสารเน้นการสื่อสารจากผู้นำ ซ่อมแซม และเพิ่มเติมจุดรับเสียงตามสายใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและเทศบาลควรพัฒนาบทบาท ด้านการสื่อสารชุมชนให้กับผู้นำชุมชน (4) ด้านวิธีการประชาคม พบว่า ในการประชุมประชาคมประชาชนไม่ค่อยมีบทบาทในการกำหนดประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข สถานที่ประชุมที่ใช้ห้องประชุมชั้น 3 ทำให้ผู้สูงอายุไม่สะดวกในการเดินขึ้น-ลงและการจัดประชุมประชาคมตำบลในวันราชการทำให้ประชาชนบางกลุ่มอาชีพไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้สำหรับข้อเสนอแนะคือเทศบาลควรกระตุ้นประชาชนให้มีบทบาทกำหนดประเด็นปัญหา เช่น เพิ่มเวลาการแสดงความคิดเห็นใน กิจกรรมต่าง ๆ จัดประชุมประชาคมย่อยในแต่ละชุมชน สำหรับสถานที่เทศบาลควรจัดประชุมในพื้นที่ที่สามารถเดินทางได้สะดวก ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือเวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้วันที่เหมาะสมควรคำนึงถึงกลุ่มอาชีพของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนกลุ่มอาชีพรับจ้างและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมควรจัดประชุมประชาคมในวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มนี้มีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาและการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่อาศัยอยู่
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9827
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61930034.pdf2.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น