กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9776
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดต่อความสามารถการใช้งานข้อและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of exercise progrm using ther-bnd on joint bility nd joint mobility in ptient with knee osteorthritis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม
นิภา มหารัชพงศ์
สิริวรรณ ธรรมคงทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
การออกกำลังกาย -- เครื่องมือและอุปกรณ์
การออกกำลังกาย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัจจัยทางสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข้า ข้อฝืด ทำให้การทำหน้าที่ของข้อเข่าลดลง เมื่อผู้ป่วยอาการกำเริบ จะทำให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและคุณภาพชีวิตลดลง การศึกษานี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดต่อความสามารถการใช้งานข้อและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 50-65 ปี ผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมออกกำลังกายตามปกติ กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินก่อนการทดลองและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นตามกรอบทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย ส่วนแบบประเมินความสามารถการใช้งานข้อ ประเมินก่อนการทดลองทุกสัปดาห์ รวม 6 ครั้ง และทดสอบองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่า ด้วยเครื่อง Goniometer ก่อนและหลังการทดลองทุกสัปดาห์ รวม 12 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test, สถิติ Paired Sample t-test, สถิติทดสอบ Repeated measures ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ความสามารถการใช้งานข้อ ระดับอาการปวด อาการข้อฝืด ความสามารถการใช้งานข้อเข่า มีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในขณะที่พฤติกรรมการออกกำลังกาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของพฤติกรมการออกกำลังกายระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ สรุปได้ว่าโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผนยางยืด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถการใช้งานข้อและการเคลื่อนไหวข้อเข่า และสามารถบูรณาการโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดนี้ร่วมกับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการออกกำลังกายตามปกติของสถานพยาบาลได้ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920300.pdf100.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น