กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9772
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณมือและข้อมือของคนงานในงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement of rebr tying tool for reducing hnd nd wrist risks of workers in construction site
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปวีณา มีประดิษฐ์
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
อชิรญาณ์ พัดพาน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องมือก่อสร้าง
เหล็ก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิผลของการปรับปรุงระบบกำจัดฝุ่นไม้ซึ่งทำการศึกษาทดลองกับเครื่องขัดงานไม้โดยการใช้หลักการแนวคิด และวิธีการออกแบบทางวิศวกรรมมาช่วยในการคำนวณค่าอัตราการไหลของอากาศขนาด และความยาวของท่อนำอากาศ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้น ๆ ต้นทุน รวมถึงสามารถผลิตใช้งานได้จริงและทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการระบายฝุ่นไม้ด้วยการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นไม้แบบฝุ่นรวม (Total dust) ก่อนและหลังการติดตั้งระบบระบายอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานตามวิธีการของ NIOSH 0500 (National Institute of Occupational Health and Safety [NIOSH], 1994) ซี่งแบ่งชนิดของตัวอย่างฝุ่นไม้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อน และแผ่น ไม้ผสม ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นไม้ทั้ง 3 ประเภท ชนิดของแผ่นไม้ผสม มีประสิทธิผลของการกำจัดฝุ่นไม้มากที่สุด โดยมีปริมาณฝุ่นไม้ลดลงโดยเฉลี่ย 87 เปอร์เซ็นต์ชนิดของไม้เนื้ออ่อนมีปริมาณฝุ่นไม้ลดลงโดยเฉลี่ย 66 เปอร์เซ็นต์ชนิดของไม้เนื้อแข็ง มีปริมาณฝุ่นไม้ลดลงโดยเฉลี่ย 59 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งหลังจากการทดลองพบว่าสามารถลดต้นทุนในการจัดสร้างได้มากและยังสามารถนำไปพัฒนาใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการควบคุมฝุ่นไม้ในโรงฝึกงานต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920294.pdf3.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น