กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/976
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:56Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:56Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/976
dc.description.abstractหัวข้อวิจัย การผลิตแอลกอฮอล์จากข้าวเหนียวดำ (Production of Alcohol from Black Glutinous Rice) การศึกษาการผลิตแอลกอออล์จากข้าวเหนียวดำด้วยลูกแป้งจากจังหวัดลพบุรี อุบลราชธานี สระแก้ว และอุดรธานี โดยทำการหมักในฟลาสก์ขนาด 500 มิลลิเมตรที่อุณหภูมิห้อง เพื่อคัดเลือกลูกแป้งที่ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ที่สูงเพื่อนำไปใช้ทำการหมักในขวดทดลองขนาด 2 ลิตร และถังหมักขนาด 10 ลิตร โดยเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ค่า pH เปอร์เซ็นต์กรดแลคติก ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ ผลการทดลองปรากฏว่าลูกแป้งจากจังหวัดอุบลราชธานีให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 72.04 mg/ml และเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ 13.95 เปอร์เว็นต์ จึงเลือกลูกแป้งชนิดนี้มาใช้ในการหมักขนาดใหย่ต่อไป เมื่อเพิ่มขนาดการหมักเป็น 2 ลิตร ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้คือ 41.40 mg/ml ได้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ 10.36 เปอร์เซ็นต์ และสุดท้ายคือเพิ่มขนาดการหมักเป็น 10 ลิตร ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้คือ 37.44 mg/ml ได้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ 9.90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการหมักขนาด 2 ลิตร และ 10 ลิตรให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และเปอร์เซ็นต์แอลกอออล์น้อยกว่าการหมักในฟลาสก์ หัวข้อวิจัย น้ำส้มสายชูจากแอลกอฮอล์ข้าวเหนียวดำ (Vinegar From Black Glutinous Rice Alcohol) ในการสึกษาครั้งนี้ใช้ข้าวเหนียวดำเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำส้มสายชูหมัก แอลกอออล์ในไวน์ข้าวเหนียวดำจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดน้ำส้มโดยเชื้อน้ำส้มสายชู acetobacter aceti TISTR103 และ Acetobacter aceti TISTR102 ในฟลากส์ขนา 500 มิลลิเมตร ที่หมักในเครื่องเขย่าความเร็ว 120 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อน้ำส้มสายชู Acetobacter aceti TISTR103 และ Acetobacter acett TISTR102 ได้แก่ ปริมาณยีสต์สกัดเริ่มต้น ปริมาณกรดอะซิติกเริ่มต้น และปริมาณเอทานอลเริ่มต้นโดยการเก็บตัวอย่างทุกวันมาวิเคราะห์ปริมาณกรดอะซิติกที่เกิดขึ้นพบว่า สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตกรด คือ ยีสต์สกัดปริมาณ 0.2 เปอร์เซ็นต์ (w/v) ปริมาณกรดอะซิติกเริ่มต้น 1 เปอร์เซ็นต์ (w/v) และปริมาณเอทธานอล 6 เปอร์เซ็นต์ (v/v)th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2551en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการหมักth_TH
dc.subjectข้าวเหนียวดำ - - วิจัยth_TH
dc.subjectน้ำส้มสายชู - - การผลิตth_TH
dc.subjectเอนไซม์อะไมเลสth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการออกแบบ พัฒนาและการขยายส่วนปฏิกรณ์ชีวภาพสำหรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้องth_TH
dc.title.alternativeDesign, development, and scale-up of bioreactors for the production of fermented vinegar from umpolished riceen
dc.typeResearch
dc.year2553
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น