กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9761
ชื่อเรื่อง: แนวทางแก้ปัญหามันสำปะหลังกรณีศึกษาในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Solution of tpioc cse study in Kbinburi districtd Prchinburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลือชัย วงษ์ทอง
อาศยา เพ็ชรผุดผ่อง
มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง -- ราคา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
มันสำปะหลัง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขมันสำปะหลัง กรณีศึกษาในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) คือ เกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลัง, ผู้ประกอบการลานมันสำปะหลังและเจ้าของกิจการแปรรูปมันสำปะหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth interview) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาแนวทางแก้ไขมันสำปะหลัง กรณีศึกษาในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีพบว่า 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับมันสำปะหลัง พบว่า โดยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ของตนเองในการปลูกมันสำปะหลังและเกษตรกรได้รับความรู้การปลูกมันสำปะหลังจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรและการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 2) การบริหารจัดการในการวางแผนด้านสภาพแวดล้อมของการเพาะปลูกมันสำปะหลังของกลุ่มเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูก คือ มันสำปะหลังพันธุ์ 81 และ CMR 89 การบริหารจัดการในการดูแลรักษาในการเตรียมดิน มีการยกร่องปลูกและการบำรุงดินใส่ปุ๋ย เกษตรกรการบริหารจัดการในการใช้น้ำของเกษตรกร ส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นหลักการบริหารจัดการในการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวผลิตผลเมื่ออายุของมันสำปะหลังประมาณ 10-12 เดือน 3) ในการกำหนดราคารับซื้อหัวมันสำปะหลังสดซึ่งมีอยู่ 2 ระบบ คือ การรับซื้อตามเปอร์เซ็นต์แป้งและการรับซื้อหัวมันสำปะหลังสดแบบคละหรือเหมา 4) แนวทางแก้ไข เพื่อให้การนำนโยบายและมาตรการมาใช้ในการปฏิบัติพบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักเกณฑ์การรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังด้วยการประกันราคาขั้นต่ำ 5) การพัฒนาระบบการขนส่งและการกระจายสินค้าที่ปลอดภัยและมีมาตรฐาน 6) นโยบายที่ทางเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมนำมาปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะมองในเรื่องการลดต้นทุน เน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ 7) แนวทางแก้ไข เพื่อให้การนำนโยบายและมาตรการมาใช้ในการปฏิบัติ พบว่า ภาครัฐนำโดยกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงานควรพิจารณากาหนดกลไกการสนับสนุนโครงการการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9761
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930035.pdf1.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น