กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/970
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสูตรอาหารและการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อันเดคาโนเอต เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต เร่งสี และการแปลงเพศของปลาหางนกยูง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of formulated diets and testosterone undecanoate to manipulation on growth performance, color enhancement and sex reversal in the Guppy (Poecilia reticulata).
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
บัลลังก์ เนื่องแสง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปลาหางนกยูง - - วิจัย
ฮอร์โมน - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การแปลงเพศปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ด้วยฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน อันเดคาโนเอท ผสมในอาหารผงสำเร็จรูปที่ระดับความเข้มข้น 25, 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เริ่มให้ลูกปลากินตั้งแต่แรกเกิดเป็นระยะเวลานาน 10, 20 และ 30 วัน ของทุกระดับความเข้มข้น และกลุ่มควบคุม (ไม่ผสมฮอร์โมน) เลี้ยงนาน 90 วัน จึงทำการตรวจสอบอัตราส่วนเพศ การรอดตาย และการเจริญเติบโต จากนั้นนำปลาหางนกยูงกลุ่มที่แปลงเป็นเพศผู้ได้ 100% ของทุกการทดลองมาเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปจนอายุครบ 12 เดือน แล้วจึงนำมาตรวจสอบระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาการเกิดสีของปลาหางนกยูงสายพันธุ์ Red platinum ที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดผสมแคนทาแซนทิน ในปริมาณ 50, 100 และ 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกลุ่มควบคุม (ปราศจากแคนทาแซนทิน) นาน 30 วัน ทำการสุ่มปลามาเปรียบเทียบสีของลำตัวและหางและสุ่มปลามาตรวจสอบปริมาณคาโรทีนอยด์ที่สะสม ปลาทุกกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนมี % เพสผู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ปลากลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนระดับความเข้มข้น 25 มก./กก. นาน 30 วัน 50 มก./กก. นาน 20-30 วัน 100 และ 200 มก./กก. นาน 10-30 วัน สามารถแปลงเป็นเพศผู้ได้ 87-100% ซึ่งไม่แตกต่างกัน (P<0.05) เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของฮอร์โมนให้มากขึ้นมีผลทำให้ % ปลาเพศผู้ที่มีโกโนโปเดียมยาวทั้งหมด และโกโนโปเดียมยาวหางใหญ่ลดลง (P<0.05) % ปลาที่มีโกโนโปเดียมสั้นหางเล็กหรือหางใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นและระยะเวลาในการให้ฮอร์โมน ปลามีการรอดตาย 93.3-94.0% ซึ่งไม่แตกต่างกัน (P<0.05) ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนร่วมกับระยะเวลามีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปลาหางนกยูงเพศผู้โดโนโปเดียมยาว (เพศผู้ปกติ) และโกโนโปเดียมสั้น กล่าวคือระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้เป็นเวลานาน 10 วัน เป็นระดับที่ทำให้ปลามีความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์สูงสุด โดยพิจารณาจากน้ำหนักอัณฑะและจำนวนเซลล์อสุจิ ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่ให้นานขึ้นส่งผลทำให้น้ำหนักตัวปลาลดลง (P<0.05) ปลาที่ได้รับแคนทาแซนทินผสมลงในอาหารทุกระดับความเข้มช้น จะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีส้ม โดยระดับความเข้มข้นของแคนทาแซนทินที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อความเข้มของสีบริเวณหางปลา (P<0.05) ปลาที่ได้รับแคนทาแซนทินผสมอาหารทุกการทดลองมี % หางปลาสีเข้มกว่าปลาชุดควบคุม (P<0.05) ปลากลุ่มที่ได้รับ แคนทาแซนทิน 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะพบปริมาณคาโรทีนอยด์ในหางสะสมสูงที่สุด (63.26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) สูงกว่าในหางปลากลุ่มการทดลองอื่น (P<0.05) การเริมแคนทาแซนทินในอาหารไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/970
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
viewobj (4)2.56 MBUnknownดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น