กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9684
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Student dropout problem nd solutions in chonburi voctionl college
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม
ณิยดา ชูวณิชชานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การออกกลางคันในโรงเรียนอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
นักเรียนอาชีวศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำแนกตามระดับชั้น และประเภทวิชาที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี ที่ออกกลางคันปีการศึกษา 2559-2560 จำนวน 95 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามประเภทวิชา กำหนดเป็นระดับชั้นในการสุ่มแล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามลำดับผู้บริหาร ครูผู้สอนครูที่ปรึกษาจำนวน 45 คน และผู้ปกครอง จำนวน 25 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวมทั้งหมดจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .30-.91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี โดยรวมและ รายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านส่วนตัวของนักเรียน นักศึกษา รองลงมา คือ ด้านสถานศึกษา และ ด้านครูผู้สอน 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จำแนกตามระดับชั้น โดยรวมและรายด้าน แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านสภาพแวดล้อมที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยนักเรียนระดับปวช. มีปัญหามากกว่านักศึกษาระดับ ปวส. และเมื่อจำแนกตามประเภทวิชา โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคัน คือ สถานศึกษาส่งเสริมผู้เรียนในการพัฒนาทักษะวิชาชีพตามศักยภาพ ควรมีความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยกับผู้ปกครอง และสถานประกอบการ ในการให้ความช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนด้วยการติดตามอย่างใกล้ชิด ให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ในการพัฒนาตนเอง และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนสายอาชีพ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9684
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57920478.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น