กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9663
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานบุคลากรเทศบาลตำบลอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Motivtion in the opertion of personnel t rnyikom municiplity mphoe mueng phr nkhon si yutthy |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพฑูรย์ โพธิสว่าง ศิริวัจ ปฎิญาณวิภาส มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง พนักงานเทศบาล -- การทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน บุคลากร -- ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานบุคลากรเทศบาลตําบลอรัญญิก อําเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตําบลอรัญญิก และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของการปฏิบัติงานบุคลากรเทศบาลตําบลอรัญญิก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบ เลือกตอบ ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับปัจจัยส่วนบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตําบลอรัญญิก อําเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาตามรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสําเร็จในการทํางาน และด้านการยอมรับนับถือ และระดับแรงจูงใจ ตามปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านรายได้และค่าตอบแทน โดยการทดสอบเปรียบเทียบสมมุติฐาน พบว่า บุคลากรเทศบาลตําบลอรัญญิกที่มีเพศ และหน่วยงาน/ สังกัดแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่กําหนดไว้ ส่วนบุคลากรเทศบาลตําบลอรัญญิกที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกันที่นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กําหนดไว้ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9663 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59910166.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น