กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9528
ชื่อเรื่อง: แก้วผสานเครื่องปั้นดินเผา: รูปลักษณ์พึ่งพิงในงานศิลปะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The amalgamating technique of glass and ceramics: Imagery in art from relaying
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
เสริมศักดิ์ นาคบัว
สุทธินี สุขกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
เครื่องปั้นดินเผา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัย แก้วผสานเครื่องปั้นดินเผา: รูปลักษณ์พึ่งพิงในงานศิลปะ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ เทคนิคทางการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาและเทคนิคการสร้างงานแก้วทางศิลปะ หาองค์ความรู้ในการพัฒนาเทคนิค วิธีการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาให้มีกระบวนการทางเทคนิค จากนวัตกรรมการผสานวัสดุที่มีมิติที่แตกต่าง และสังเคราะห์องค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์ ผลงานทัศนศิลป์ ต้นแบบ จากการผสมผสานวัสดุเครื่องปั้นดินเผากับแก้ว แนวคิดการพึ่งพิง วิธีดําเนินการวิจัย กําหนดพื้นที่แบบเจาะจง 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มเพื่อการวิจัยเชิงสังเกต ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรมวิทยาศาสตร์บริการ กรุงเทพฯ และกลุ่มเพื่อการวิจัยเชิงสังเกตแบบมีส่วนร่วม แผนกเป่าแก้ว แผนกกระจกสี ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงงานโลตัสคริสตัล จังหวัดระยอง การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิต จํานวน 2 ท่าน และศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานแก้ว จํานวน 3 ท่าน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ และทําการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการหาอัตราส่วนผสมจากทฤษฏีเส้นตรง ซึ่งเป็นการแปรค่าอัตราส่วนผสมแบบ 2 ชนิด เพื่อให้เกิดเทคนิคเฉพาะที่จะนําไปใช้ในการสร้างสรรค์ ผลปรากฏว่า ทฤษฏีเส้นตรงให้ผลการหลอมรวมระหว่างแก้วกับเนื้อดินได้ดีจาก 2 เทคนิค คือ เทคนิคที่ 1 Mixing Materials in Clay ผลที่ได้พบว่า จุดที่ใส่ปริมาณแก้ว B ตั้งแต่ร้อยละ 50 เนื้อดินขึ้นรูปได้ยาก และเทคนิคที่ 2 Mixing Materials ผลการทดลองพบว่า แก้วหลอมเป็นเนื้อเดียวกันที่อุณหภูมิ 1,050 องศาเซลเซียส ทั้งวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 แต่วิธีที่ 2 เนื้อแก้วไม่สามารถไหลกระจายตัวได้ทั่ว แผ่นทดลอง และการหาจุดเชื่อม หรือผสานของวัสดุแก้วกับเครื่องปั้นดินเผา ด้วยวิธีการเผาค้นหา อัตราส่วนผสม และอุณหภูมิในการเชื่อมต่อผสมผสานวัสดุรูปแบบการหาอัตราส่วนผสม และอุณหภูมิการเชื่อมต่อจากทฤษฏีเส้นตรงที่นําไปใช้ในการสร้างผลงานต้นแบบ เทคนิคการขึ้นรูปแก้ว และการตกแต่งแก้ว คือ เทคนิคที่ 1 การตกแต่งแก้วอุ่น ผลที่ได้พบว่า เทคนิค Glass Fusing, Pate de Verre, Kiln Casting, Glass Slumping สามารถผสมวัสดุทางเครื่องปั้นดินเผาได้และเทคนิคที่ 2 เทคนิคแก้วร้อน ผลที่ได้พบว่า การขึ้นรูปด้วยตะเกียงเป่าแก้ว Lamp Working สามารถเชื่อมต่อกับเนื้อดินที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ และสามารถสร้างรูปทรงได้หลากหลายข้ามขีดจํากัดการผสานวัสดุ 2 ชนิด องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยแก้วผสานเครื่องปั้นดินเผา นําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบทางศิลปะทั้ง 5 ชุด ผ่านรูปแบบปัจเจกลักษณ์ จากการสร้างผลงานรูปลักษณ์พึ่งพิงในงานศิลปะ ทําให้สามารถสร้างจินตภาพสมมุติ ที่พึ่งพิงอาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการนําส่วนประกอบเล็ก ๆ ทางธรรมชาติ ดิน เยื่อไม้ หญ้า หินปูน มาทําเป็นโครงสร้างที่อยู่อาศัยที่มีความสลับซับซ้อน เช่น แมลงจําพวกตัวต่อ มด ผึ้ง และปะการังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยยังสามารถเป็นฐานข้อมูลในการนําไปใช้ประโยชน์กับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และต่อยอดงานวิจัยต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9528
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810069.pdf216.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น