กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9521
ชื่อเรื่อง: ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ (วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม) : การจัดการแหล่งเรียนรู้ศิลปะจีน ณ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Monument njstichi shrine: mnging into chinese culturl rts lerning on chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Ln, Chnglong
ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร
มนัส แก้วบูชา
แลน, ฉางหลง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะจีนที่โดดเด่น ออกแบบแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ศิลปะจีนและออกแบบ สื่อความหมายศิลปะและวัฒนธรรมจีนเพื่อการเรียนรู้ในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ โดยดําเนินการวิจัย ตามแนวคิดและหลักการทั้งการจัดการพื้นที่ การจัดการความรู้การจัดการแหล่งเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวและการสื่อความหมาย ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการพื้นที่ในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้ออาจจะได้รับแรงบันดาลใจ จากการจัดวางพื้นที่ในวัดวาอารามของศาสนาพุทธ ซึ่งได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ พื้นที่โรงเจ อันมีฐานะคล้ายกับเขตสังฆาวาสพื้นที่สัญลักษณ์แห่งสถานที่ประทับขององค์เทพเจ้า อันมีฐานะ คล้ายกับเขตพุทธาวาส และพื้นที่อเนกประสงค์ อันมีฐานะคล้ายกับเขตธรณีสงฆ์ซึ่งพื้นที่แต่ละส่วน ล้วนมีทางเชื่อมต่อกันเพื่ออํานวยความสะดวกกับคนทั่วไป (2) ซุ้มประตูจีนอาจจะไม่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียในสมัยโมริยะจากซุ้มประตูโทรณะที่สถูปสาญจี เนื่องจากซุ้มประตูจีนอาจได้พัฒนามาจากประตูเหิงเหมินในสมัยชุนชิวของจีนซึ่งสมัยชุนชิวเร็วกว่าสมัยโมริยะหลายร้อยปี (3) ภาพจิตรกรรม ฝาผนังจีนส่วนใหญ่เป็นภาพบุคคลและได้วาดตามเนื้อหาที่ปรากฏในตํานานจีนโบราณซึ่งมีบทบาทในการถ่ายทอดแนวคิดทางศาสนาและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนทั่วไป (4) ช่างเขียนภาพได้ เลียนแบบผลงานของจิตรกรชาวจีนและนําเทคนิคการวาดภาพแบบจีนมาปรับใช้เช่น เทคนิคการวาด แบบสิงหยุนหลิวสุ่ยเหมียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช่างเขียนภาพมีฝี มือการเขียนภาพที่ได้สืบทอดจากช่าง รุ่นเก่าและมีแนวคิดสร้างสรรค์ในการเขียนภาพเพื่อตอบสนองความต้องการในการสื่อความหมายและ (5) รูปลักษณ์ของรูปเคารพในศาสนาเต๋ามีทั้งแบบจีนและแบบอินเดีย ซึ่งองค์เทพเจ้าบางองค์เดิมเป็นองค์เทพเจ้าในศาสนาพุทธนิกายมหายาน แล้วต่อมาก็เปลี่ยนเป็นองค์เทพเจ้าของศาสนาเต๋า เช่น องค์เต๋าบ้อหง่วงกุงซึ่งแสดงให้เห็นว่า ศาสนาเต๋าและศาสนาพุทธนิกายมหายานมีการแลกเปลี่ยนกันในประวัติศาสตร์จีน แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ศิลปะจีนประกอบด้วยการจัดการประชาสัมพันธ์ การกําหนดพื้นที่ท่องเที่ยวและเรียนรู้การจัดเตรียมวิทยากรประจําแหล่ง และการจัดทําข้อมูลเอกสาร และสื่อเรียนรู้ศิลปะจีนซึ่งได้เสนอและออกแบบตามกรอบแนวคิดของการวิจัย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9521
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810090.pdf415.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น