กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9478
ชื่อเรื่อง: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการออกแบบร่วมสมัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Vernculr house rchitecturl in uttrdit province for contemporry design
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิชัย สดภิบาล
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
สุจิตรา อยู่หนู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ไทย (ภาคเหนือ)
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐาน สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ กลุ่มภาษาและชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม เรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบค้นสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยดั้งเดิมในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เพื่อทําการศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมบ้านเรือนพื้นถิ่นที่ปรากฏ และเสนอแนวทางในการสืบสานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการศึกษาสถาปัตยกรรมในพื้นที่ 9 อําเภอ ได้แก่ อําเภอเมือง อําเภอลับแล อําเภอท่าปลา อําเภอตรอน อําเภอทองแสนขัน อําเภอพิชัย อําเภอฟากท่า อําเภอบ้านโคก และอําเภอน้ำปาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล ภาคสนามและแบบประเมินความคิดเห็นองค์ความรู้ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ กลุ่มภาษาและชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัย ซึ่งเรือนพักอาศัยที่พบในเขตพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอลับแล อําเภอตรอน อําเภอพิชัย และอําเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีการดําเนินชีวิตในแต่ละพื้นที่ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเรือนพักอาศัยแบบเรือนพื้นถิ่นลับแล กลุ่มเรือนชนบท กลุ่มเรือนพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ หรือ เรือนผู้มีฐานะ กลุ่มเรือนแถวหรือเรือนตึกแถวและกลุ่มเรือนสมัยใหม่และมีแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยการส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการอนุรักษ์ หรือเก็บรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นไว้ การให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นเข้าใจและเห็นความสําคัญของเรือนพื้นถิ่นของตนเอง และให้ความรู้เรื่องของการอนุรักษ์หรือดูแลเรือนพื้นถิ่นอย่างถูกวิธี ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ฝีมือช่างแบบดั้งเดิมให้มีการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้เป็นระยะ ๆ และเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้รูปแบบเรือนพักอาศัยในอดีตให้เหมาะสมกับปัจจุบัน ที่เรียกว่า การออกแบบร่วมสมัยคือ (1) การประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ทางด้านรูปแบบทางสถาปัตยกรรม อัตลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ โดยการรักษารูปแบบเดิมของเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นดั้งเดิม โดยอาจมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการไปบ้าง แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมไว้ หรือประยุกต์ใช้เพียงรูปแบบบางส่วน (2) การประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ทางด้านภูมิปัญญาที่สรรสร้างจากคนรุ่นเก่าให้เข้ากับยุคสมัย ในปัจจุบัน อัตลักษณ์ที่เป็นนามธรรม ซึ่งอาจรับรู้ได้จากการเข้าอยู่อาศัย ภูมิปัญญาในการจัดผังพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้พักอาศัย ภูมิปัญญาในการเลือกใช้วัสดุ โครงสร้าง และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ภูมิปัญญาในการระบายอากาศ และถ่ายเทความร้อนโดยธรรมชาติและการนําแสงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้เปิดความสว่างในตัวเรือน ผลของการประเมินความคิดเห็นของหนังสือองค์ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนพักอาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการออกแบบร่วมสมัย ด้านรูปแบบเรือนพักอาศัยที่ค้นพบมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ ด้านการจัดกลุ่มเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์มีความเหมาะสม ด้านแนวทางในการสืบสานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีความเหมาะสมด้านแนวทางในการประยุกต์ใช้รูปแบบเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านตัวอย่างการประยุกต์เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นมีความเหมาะสม และด้านเนื้อหาโดยรวมมีความเหมาะสม เข้าใจได้ง่าย และมีประโยชน์สรุปผลการประเมินความคิดเห็นของหนังสือ องค์ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนพักอาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการออกแบบร่วมสมัย โดยรวม ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าเท่ากับ 4.50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน อยู่ที่ 0.58 จัดว่ามีความเหมาะสมมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9478
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54810097.pdf194.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น