กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9473
ชื่อเรื่อง: | การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักเพื่อประดับตกแต่งจากพุทธสัญลักษณ์ในประเทศจีน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The product designs of wood crving decortion inspired from the chin buddhist symbol |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Junkai, Fu ภานุ สรวยสุวรรณ ภรดี พันธุภากร จังไค,ฟู มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ การแกะสลักไม้ -- จีน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธสัญลักษณ์ในประเทศจีนเพื่อค้นหาพุทธสัญลักษณ์ที่มีรูปแบบเฉพาะของประเทศจีนและสามารถนำพุทธสัญลักษณ์ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักเพื่อประดับตกแต่งได้อย่างสวยงาม มีเอกลักษณ์และมีความทันสมัย ผลการศึกษาพบว่า งานพุทธศิลป์จีนส่วนใหญ่นิยมใช้รูปร่างและสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาทางพระพุทธศาสนามาใช้สื่อถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ลึกซึ้ง ให้แสดงออกมาได้อย่างเข้าใจง่ายและเป็นการน้อมนำให้วิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนจีนได้ใกล้ชิดและแนบแน่นกับวิถีประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาจากการศึกษาข้อมูลทางพระพุทธศาสนาในประเทศจีน ทำให้ผู้วิจัยได้ค้นพบพุทธสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดคำสอนทางศาสนาที่มีรูปแบบเป็น เอกลักษณ์ในประเทศจีน คือ ภาพพระพุทธเจ้า ภาพมุทรา ภาพดอกบัว ดอกเป่าเซียนฮัว สัญลักษณ์ สวัสดิกะ“卍”และต้นโพธิ์เมื่อผู้วิจัยนำพุทธสัญลักษณ์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวมาดำเนินการรวมกลุ่มภาพและผสมผสานเข้ากับการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักทำให้ได้แบบร่างผลิตภัณฑ์ ทั้งสิ้น 15 แบบร่าง ทั้งนี้ จากการประเมินผลงานการออกแบบแบบร่างเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน พบว่า การออกแบบแบบร่างผลิตภัณฑ์ที่ 3 เสียงจากธรรมชาติ แบบร่างที่ 5 สายน้ำ แห่งธรรม แบบร่างที่ 11 ตระหนักรู้ แบบร่างที่ 13 วัฏฏะสงสารและแบบร่างที่ 15 ฐานบัว เป็นแบบร่างที่สามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของพุทธสัญลักษณ์ของประเทศจีนได้ดีที่สุด เมื่อนำแบบร่างไป จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักและสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจพบว่า ทั้งหมดมีความพึงพอใจและต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (x ) อยู่ที่ 4.80-4.61โดยเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักเพื่อประดับตกแต่งจากพุทธสัญลักษณ์ในประเทศจีน สามารถตอบสนองรสนิยมและใช้งานได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงสามารถสร้างการยอมรับได้อย่างกว้างขวางอันสามารถนำไปสู่ประโยชน์เพื่อการใช้สอยการประดับตกแต่ง และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9473 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56920625.pdf | 11.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น