กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9471
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorมนัส แก้วบูชา
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร
dc.contributor.authorวีระวัฒน์ เสริมศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T03:53:20Z
dc.date.available2023-09-18T03:53:20Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9471
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง ความสําคัญและบทบาทของกลองปู่จาในบริบทพื้นที่วัดเจดีย์ซาวหลัง จังหวัดลําปางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมกลองปู่จา ภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรม ภูมิสถานของวัดเจดีย์ซาวหลังจังหวัดลําปางและบริบทที่เกี่ยวข้อง บทบาทและความสําคัญของกลองปู่จา และศึกษาองค์ความรู้กลองปู่จาและกิจกรรมสืบเนื่องของพิพิธภัณฑ์โฮงก๋อง เขลางค์นคร โดยมี กรอบแนวคิดระเบียบวิธีวิจัย คือ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพของกรมศิลปกร การจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หลักการจัดเก็บดนตรี ดั้งเดิมหายากและการพัฒนาของนารา ดอกคูเม็นท์ การสื่อความหมายผ่านพิพิธภัณฑสถานของสภาพิพิธภัณฑสถานนานาชาติเพื่อนําไปพัฒนากรอบแนวคิดในงานภาคสนามมาเรียบเรียงขึ้นเป็นงานวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า กลองปู่จามีส่วนสําคัญที่โยงใยกับภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรมในภูมิสถานของวัดทั่วไปรวมทั้งบริบทพื้นที่วัดเจดีย์ซาวหลัง จังหวัดลําปาง ได้แก่ ตํานานพุทธศาสนา พระเจดีย์ทั้งยี่สิบหลังและพิพิธภัณฑ์ของวัดเจดีย์ซาวหลังซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติเรื่องเล่า พระแส้ (สแว่) ทองคํา ลําดับพระเจ้าอาวาส โดยเฉพาะพระราชจินดานายก ท่านมีความรู้และเล็งเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์องค์ความรู้กลองปู่จาผ่านพิพิธภัณฑ์โฮงก๋องปู่จา เขลางค์นคร ผู้วิจัยได้จัดทําประวัติ และพัฒนาการของวัดเจดีย์ซาวหลังและเรียบเรียงองค์ความรู้กลองปู่จา ได้แก่ พิธีกรรมการตัดไม้ การนําไม้ออกจากป่า กระบวนการสร้างกลองปู่จา การบรรจุหัวใจกลองปู่จาและพิธีกรรมการตีกลองปู่จาในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทางวัดได้ฟื้นฟูให้กลับมามีบทบาทสําคัญในวันธรรมสวนะ พิธีกรรม ประเพณีต่าง ๆ ของวัดและชาวบ้าน ทั้งยังได้ศึกษารวบรวมการจัดกิจกรรมสืบเนื่องให้ยุวชนเรียนรู้ อบรมถ่ายทอดในวัดเป็นประจําปี การพัฒนารูปแบบการตีกลองปู่จา รูปร่าง การตี ขนาดและวัสดุ ก่อให้เกิดการเข้ามาพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมขององค์กร โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์ประเพณีตีก๋องปู่จา นครลําปาง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์สืบทอดเพื่อดํารงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง จวบจนปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปสู่ระดับกลองนานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดลําปางอันเป็นต้นแบบการอนุรักษ์พัฒนาที่ยั่งยืนแห่งหนึ่งของประเทศไทย
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectกลองปู่จา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.titleความสำคัญและบทบาทของกลองปู่จาในบริบทพื้นที่วัดเจดีย์ซาวหลัง จังหวัดลำปาง
dc.title.alternativeRole nd context significnces in klong pu j t wt jedi sw lng, lmpmg province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the researchentitled “significance and roles of KlongPuJa, PuJa drum, at the context area of Che Di Saaw Lang Temple, Lampang Province” were aimed to 1) study the culture of KlongPuJa, sociocultural and geographical backgrounds of Che Di Saaw Lang Temple, Lampang Province, and relevant contexts, 2) study roles and significance of KlongPuJa, and 3) study the body of knowledge about KlongPuJa and other continuative activitiesof Hongkong Khelang Nakhorn Museum. The conceptual framework and research methodology were the standard management of cultural heritage conducted by Fine Arts Department, Collection in cultural wisdom and heritage of the Department of Cultural Promotion, Nara Document Investigation and Collection in Rare-Authentic Musical Information and communication through the museum of International Council of Museums. The research revealed that KlongPuJa had importantly linked with local people’s socio-cultural background and the areaof temples as well as the context area of Che Di Saaw Lang Temple, Lampang Province. The context area consisted of history of Buddhism, 24 pagodas, and museum of Che Di Saaw Lang Temple where had told about history and legend of PhraSae Tong Kum (the golden Buddha image), name list of abbots, especially Phrarajchindanayok, the abbot who appreciated the preservation of KlongPuJa through HongkongPuJa Khelang Nakhorn Museum. The research collected the history and development of Che Di Saaw Lang Temple and compiled the body of knowledge on KlongPuJa like the treecutting ceremony, taking logs out of the forest, making process of KlongPuJa, containing of the heart of KlongPuJa, and other ceremonies. Moreover, the temple had revived the drum beating of KlongPuJa for occasions in Buddhist holy days and traditional rituals of the temple and the village. Also, the research compiled the continuative activities for the youth’s learning and ฉ organized as annual workshop. The development of beating pattern, shape, beating styles, sizes and materials of KlongPuCabrought people’s participative development in the form of the special program called“the Youth Camp for Preservation of KlongPuJa Beating Tradition”. This program had resulted in the preservation and passing on the cultural heritage to the next generation. Importantly, it had been developed to the internationally special event, known as the 1st International Drum Festival 2016 in Lampang Province. It was a model of Thailand’s sustainable preservation and development.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920663.pdf136.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น