กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/937
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:53Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:53Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/937 | |
dc.description.abstract | พื้นที่ อ. พนัสนิคม จ. ชลบุรี มีคน 3 เชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน ได้แก่ ไทย ลาว จีน สำหรับ ชาวไทยเชื้อสายจีนนั้นเป็นกลุ่มสุดท้ายที่อพยพมาอยู่ที่นี่ การอยู่ร่วมกับเชื้อชาติอื่นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องแสดงถึงเอกลักษณ์เพื่อแสดงถึงการดำรงอยู่ของกลุ่มตนรวมทั้งการสร้างอำนาจในการต่อรองในพื้นที่ มิติทางด้านวัฒนธรรม อย่างเช่น การแสดงเอ็งกอ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ถูกเลือกสรรนำมาผลิตซ้ำเพื่อการสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการสืบทอดเอ็งกอมีส่วนในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ให้แก่คนไทยเชื้อสายจีนอย่างไร ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา โดยสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการสืบทอดรวมทั้งสังเกตการณ์ฝึกซ้อมและการแสดงเอ็งกอ โดยใช้แนวคิดเรื่องการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ทางชาติพันธุ์และแนวคิดเรื่องต้นไม้แห่งคุณค่าเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า (1) ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และนโยบายของรัฐชาติที่เน้นความเป็น “ไทย” ทำให้คนไทยเชื้อสายจีนลดทอนอัตลักษณ์ด้านการเมือง เช่น การเปลี่ยนนามสกุล แบบไทย เข้าศึกษาในโรงเรียนไทย ใช้ภาษาไทยขณะที่ยังคงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในมิติด้านวัฒนธรรม เช่น การเล่นเอ็งกอ (2) การสืบทอดเอ็งกอที่ยังคงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์มีวิธีการสืบทอด 2 รูปแบบ ได้แก่ (2.1) การสืบทอดควบคู่กันทั้ง 2 แบบ ทั้งการสืบทอดในพื้นที่วัฒนธรรมของจีน เช่น ศาลเจ้าและงานประเพณี และการขยายพื้นที่ไปสืบทอดในโรงเรียนเพื่อเข้าถึงกลุ่มเยาวชนที่เป็นลูกหลานชาวไทย เชื้อสายจีน (2.2) การขยายพื้นที่ไปแสดงในงานบุญกลางบ้านที่เป็นการสื่อสารอัตลักษณ์ไปถึงคนที่อยู่นอกชุมชนด้วย และ (3) การได้รับการสนับสนุนทั้งจากเทศบาล โรงเรียนและชุมชน รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสืบทอดเอ็งกอได้อย่างเข้มแข็ง ถึงแม้ว่าเอ็งกอจะเป็นสื่อในการแสดงอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีน แต่เป็นอัตลักษณ์ที่ลื่นไหลไปตามบริบทแวดล้อม โดยมีอัตลักษณ์ทั้งสองแบบ แบบแรกคือการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์จีน เพื่อแสดงถึงการดำรงอยู่และความภูมิใจในชาติพันธุ์ของตน ที่มิได้จะหมายข่มชาติพันธุ์อื่น แต่เป็นการประกาศถึงการดำรงอยู่ในลักษณะที่เท่าเทียมกันกับชาติพันธุ์อื่น ส่วนแบบที่สอง คือ อัตลักษณ์ในฐานะสื่อของชุมชนที่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2554 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | อัตลักษณ์ | th_TH |
dc.subject | สื่อการแสดง | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | |
dc.title | การสืบทอดสื่อพื้นบ้านเอ็งกอเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | The folk media inheritance of Eng-Kor to construct identity of Thai-Chinese community in Panusnikom Chonburi | en |
dc.type | Reserch | |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | In the area of Panasnikom district, Chonburi, there are 3 races living together; Thai, Laos and Chinese. Chinese- Thai uses Engkor performance to show their identity to made them exist and to create power for getting their own area. The concept of Cultural Reproduction by Raymond Williams and the concept of Race Identily were used as guidelines. The findings revealed that (1) In the global media trend and government policy that emphasis on unitary which stressed on “Thai” make Chinese-Thai reduced their identity on politics such as changed Chinese family name to Thai family name, went to Thai school, used Thai language. However, they still emphasis on their race identity through their culture like Engkor Performance (2) The descendent of Ebgkor that still had race identity was approached by (2.1) two descendents Went together at the same time that were the descendent of Chinese such as shrine tradition ceremony which were the Engkor original and the descendent in schools that was adapted to Chinese-Thai youth. Both descendents were helping each other. (2.2) the extension of area to Perform at religious ceremony that communicated their identity to people outside the community, and (3) the reinforcement of local government, schools and community, including the assistance from other institutions outside the area were the strong significant factors to the descendent of Enkor. Even though Engkor was a medium that represented the identity of Chinese-Thai that identity was changed according to the context. For example, the representation of Chinese identity to show their existence, the pride of their race that was equal to other race. However, Engkor sometimes represented the identity of the community that include all races (didn’t mean only for Xhinese-Thai) | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_153.pdf | 6.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น