กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/934
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแช่บ๊วย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of thai medicinal plants for removal of human and aquatic animal pathogenic bacteria in Banana prawn (Penaeus merguiensis) spermatophores
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งแช่บ๊วย
น้ำเชื้อ
สมุนไพรไทย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงสารละลายบัฟเฟอร์ที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) แบบแช่เย็น โดยแบ่งชุดการทดลองเป็นจำนวน 5 ชุด ด้วยการเก็บรักษาถุงเก็บน้ำเชื้อในน้ำยา 5 สูตร ได้แก่ Ca-F-Saline, mineral oil, Ringer solution, Phosphate buffer และ 0.8% NaCL และชุดน้ำเชื้อสด ภายใต้อุณหภูมิ 2-4 C เป็นระยะเวลานาน 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า น้ำยาสูตร Mineral oil พบเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตสูงที่สุด เท่ากับ 89.10+-0.81% ในวันสุดท้ายของการทดลอง ต่อมาทำการศึกษาถึงผลของการเติมยาปฏิชีวนะ Penidllin-streptomycin และ Penicillh-gentamicin ที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 2% ต่อการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยแบบแช่แข็ง โดยทำการประเมินจากอัตราการรอดชีวิตของสเปิร์มและปริมาณและชนิดของแบคมีเรียจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ แบคทีเรียทั้งหมด แบคทีเรียแกรมลบ Pseudomnas, Vibrio และ psychrotroph ผลการศึกษาพบว่าน้ำเชื้อที่เก็บรักษาในบัฟเฟอร์ที่มีการเติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 0.1% มีอัตราการรอดชีวิตของสเปิร์ม มากที่สุด และน้ำเชื้อที่เติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-gentamicin ความเข้มข้น 2% มีอัตราการรอดชีวิตของสเปิร์มต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบแบคทีเรียทั้งหมดในแต่ละชุดการทดลอง พบว่าในชุดควบคุมตั้งแต่วันที่ 0-30 ของการทดลอง ปริมาณแบคทีเรียทุกชนิดเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และพบว่าสารปฏิชีวนะ Penicillin-gentamicin และ Penicillin-streptomycin ที่ความเข้มข้น 0.1,1 และ 2% สามารถลดปริมาณแบคทีเรียทุกกลุ่มได้ดีกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ตลอดระยะเวลาของการทดลอง เมื่อทำการเติมสารปฏิชีวนะ Penicillin-gentamicin และ Penicillin-streptomycin ที่ความเข้มข้น 2% นั้นสามารถลดปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดได้ดีที่สุด แต่การรอดของสเปิร์มมีเหลือน้อยที่สุด ดังนั้นสรุปได้ว่าสารปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ที่ความเข้มข้น 0.1%น่าจะเหมาะสมในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยแบบแช่เย็น ส่วนความหลากหลายของแบคทีเรีย ได้แก่ Bocillus, Stophylococcus, Aeromonas schubertii, Plesiomonas shigelloides, Aeromonos schubertii, Plesiomonas shigelloides, Pseudomonas fluorescens, Xanthomonas fragariae และ Vibrio parohoemolyticus
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/934
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น