กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/931
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัยth
dc.contributor.authorสุบัณฑิต นิ่มรัตน์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:52Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:52Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/931
dc.description.abstractโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์ในปีที่ 1 ของการวิจัยได้ศึกษาชนิดของสารไครโอโพรเทค แทนท์ (cryoprotectant) ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยแบบแช่แข็ง โดยได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดต่าง ๆ 4 ชนิด (dimethylsulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycol และ sucrose) ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) ที่เวลา 10, 20, 30, 60, 90, 120 และ 150 นาที และศึกษาผลของอัตราการลดอุณหภูมิ (-1, -3, -5 และ -7 องศาเซลเซียส/นาที) ที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลายี่สกไทยที่ผ่านการแช่แข็ง ได้ผลการทดลองพบว่า DMSO มีความเป็นพิษน้อยที่สุด รองลงมาคือ ethylene glycol และ propylene glycol ตามลำดับโดย sucrose มีความเป็นพิษต่อสเปิร์มมากที่สุด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วย DMSO, ethylene glycol และ propylene glycol และเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลว (อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส) ปรากฎว่า DMSO มีความเหมาะสมมากที่สุดในการแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทย โดยการแช่แข็งด้วยการใช้ 10% DMSO และลดอุณหภูมิในอัตรา 5 องศาเซลเซียส/นาที หรือลดอุณหภูมิในอัตรา 7 องศาเซลเซียส/นาที ทำให้เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลาย (post-thaw sperm motility) มีค่าเฉลี่ยสูง (80.4-86.7%) ไม่แตกต่างกับน้ำเชื้อสด (86.7+-3.3%) Development of cryopreservation technology for seven-stripped carp (Probarbus jullieni) sperm for aquaculture and conservation was investigated to generate baseline information of cryoprotectant toxicity on sperm motility and develop suitable freezing protocol. Four cryoprotectants (dimethylsulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycol and sucrose) were selected to dilute milt at four final concentrations (5, 10, 15 and 20%). After exposure on milt for 10, 20, 30, 60, 90, 120 and 150 min., DMSO was shown to be the least toxic to sperm motility. Ethylene glycol and propylene glycol were more toxic to sperm motility while sucrose was the most toxic cryoprotectant. Freezing of milt with DMSO, ethylene glycol or propylene glycol using various freezing rates (-1, -3, -5 and -7 'C/min) was found that DMSO was the most appropriate cryoprotectant for cryopreservaton of milt. Milt cryopreserved with 10% DMSO and frozen at the rate of -5or -7 'C/min resulted in the highest post-thaw sperm motility (80.4-86.7%) comparable to those of fresh milt (86.7+-3.3%).th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectน้ำเชื้อ- - การเก็บรักษาth_TH
dc.subjectปลายี่สกth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of cryopreservation technology for seven-stripped carp (Probarbus jullieni) sperm for aquaculture and conservationen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น