กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9297
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ผาณตา เอี้ยวซิโป | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-08-17T11:15:31Z | |
dc.date.available | 2023-08-17T11:15:31Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9297 | |
dc.description.abstract | แม้ว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเซลล์มะเร็งทั้งชนิดก่อนและมะเร็ง ในระบบเลือด แต่ผลข้างเคียงที่ได้จากการได้รับจากยาเคมีบำบัดนั้นทำให้เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยและอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การค้นหาสารจากธรรมชาติที่มีการออกฤทธิ์อย่างจำเพาะเจาะจงกับ เซลล์มะเร็ง น่าจะเป็นทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้ จากงานวิจัยก่อนหน้าที่ได้แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ในการต้านมะเร็งของสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำจากใบชาขลู่ (Pluchea indica (L.) Less. ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมและเซลล์มะเร็งปากมดลูก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต่อเนื่องถึงชนิดและฤทธิ์ของสารสำคัญที่พบในสารสกัดและเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่ไม่ใช่มะเร็ง ผลจากการทดสอบพบว่า สารสำคัญที่พบในปริมาณมากที่สุดในสารสกัดขลู่ คือ 4,5-di-caffeoylquinic acid (4, 5-diCQA) ซึ่งเมื่อนำสารนี้ไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งพบว่า สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งปากมดลูก C-33A และเซลล์มะเร็งเต้านม MDA-MB-231 ได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 162 ± 6.34 และ 171 ± 5.22 μM ตามลำดับ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ไม่ใช่มะเร็ง Vero ต่ำกว่า (IC50 มากกว่า 200 μM) นอกจากนี้ ยังได้ทำการตรวจสอบระดับของอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species, ROS) ภายใน เซลล์มะเร็งทั้งสอง พบว่า เซลล์มะเร็งที่ได้รับสารทดสอบจะมีระดับ ROS เพิ่มสูงขึ้น 182.96 ± 15.04% และ 237.24 ± 52.35% ตามลำดับ ในขณะที่เซลล์ Vero จะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ผลจากการทดลองนี้จึงเป็นข้อสรุปในเบื้องต้นว่า สาร 4,5-diCQA นี้ น่าจะสามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนายาต้านมะเร็งเต้านมหรือปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพและลดอาการข้างเคียงให้กับผู้ป่วยได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ขลู่ (พืช) - - การใช้ประโยชน์ | th_TH |
dc.title | การประเมินคุณสมบัติของสารประกอบพอลิฟีนอลจากใบชาขลู่ในการส่งเสริมปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง | th_TH |
dc.title.alternative | Assessment of pro-oxidant activity of polyphenolic compounds in Pluchea indica leaves in relating to their cytotoxicity toward cancer cells | ำื |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | panata@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2566_017.pdf | 257.73 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น