กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9294
ชื่อเรื่อง: | ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 อัลลีลต่าง ๆ และเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดสของสมุนไพรขลู่เพื่อการลดการสูบบุหรี่และป้องกันโรคทางสมอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Inhibitory activity of Pluchia indica.L against Monoamine Oxidase enzyme and polymorphic CYP2A6 enzymes, pharmacotherapeutic target enzymes for smoking cessation and neurological disorders |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทรงกลด สารภูษิต พรพิมล รงค์นพรัตน์ เอกรัฐ ศรีสุข ธันยาภรณ์ วงษ์ศรี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เอนไซม์ - - วิจัย สมอง - - โรค |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เอนไซม์ไซโตโครม P4502A6 (CYP2A6) เป็นเอนไซม์สำคัญในตับทำหน้าที่ย่อยสลายสารนิโคตินในบุหรี่ ทำให้ระดับนิโคตินในเลือดลดต่ำลง ส่งผลให้ผู้สูบจำเป็นต้องสูบบุหรี่เข้าไปใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อคงระดับนิโคตินในเลือด ให้ยังคงกระตุ้นการหลั่งสารโดปามีนในสมอง และเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดส (Monoamine oxidase: MAO) เป็นเอนไซม์สำคัญในสมอง ทำหน้าที่ย่อยสลายสารโดปามีน ทำให้ระดับโดปามีนในสมองลดลง ทำให้ผู้สูบบุหรี่เกิดความอยากสูบบุหรี่ ดังนั้นการลดการสูบบุหรี่โดยการลดการทำงานของเอนไซม์ทั้งสอง จึงเป็นกระบวนการทางเลือกในการลดการสูบบุหรี่อย่างปลอดภัย นอกจากนี้การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO ยังเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการรักษาโรคเรื้อรังทางสมองเช่น โรคอัลไซเมอร์อีกด้วย จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าสารสำคัญในกลุ่ม Thiophene 1-3 ที่ทำบริสุทธิ์ได้จากสมุนไพรขลู่ที่พบได้ทั่วไปในภาคตะวันออก สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 ด้วยกลไกที่ผันกลับไม่ได้และยับยั้งเอนไซม์ MAO ด้วยกลไกแบบผันกลับได้ โดย Thiophene-3 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ทั้งสองได้ดีที่สุด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO-B ด้วยค่า IC50 3.48 ± 0.73 μM และยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 ด้วยค่า IC50 3.90 ± 0.20 μM อย่างไรก็ดีเมื่อทำการศึกษาฤทธ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP2A6 อัลลีลที่พบในประชากรไทย ได้แก่ CYP2A6*5, CYP2A6*7, CYP2A6*8 และ CYP2A6*10 พบว่า ความหลากหลายทางพันธุกรรมของ CYP2A6 ยังส่งผลการถูกยับยั้งด้วยสารยับยั้ง CYP2A6 มาตรฐาน (8-MOP) และสารสำคัญ Thiophene-3 โดยไม่เปลี่ยนกลไกในการยับยั้ง โดยเอนไซม์ CYP2A6*5 มีการเพิ่มขึ้นของค่า IC50 สูงที่สุด (19.45 ± 2.11 μM) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมุนไพรขลู่ในการจะนำไปพัฒนาเป็นสมุนไพรเพื่อการป้องกันโรคเรื้อรังทางสมอง และการนำมาพัฒนาเพื่อใช้ลดการสูบบุหรี่ เพราะสามารถยับยั้งการเสพติดบุหรี่ได้ทั้งกลไกการคงระดับนิโคตินและการคงระดับโดปามีน ในรูปแบบของการใช้ปริมาณสารสำคัญที่แตกต่างกันไปตามความหลากหลายทางพันธุกรรมของเอนไซม์ CYP2A6 ในผู้ต้องการเลิกสูบบุหรี่ |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9294 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2566_018.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น