กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9288
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorดวงใจ วัฒนสินธุ์-
dc.contributor.authorภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์-
dc.contributor.authorสิริพิมพ์ ชูปาน-
dc.contributor.authorศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์-
dc.contributor.authorรัศมิ์สุนันท์ จันทรภักดี-
dc.date.accessioned2023-08-07T09:09:39Z-
dc.date.available2023-08-07T09:09:39Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9288-
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractนักศึกษาพยาบาลเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าเนื่องจากต้องเผชิญกับการปรับตัวที่หลากหลายทั้งด้านพัฒนาการตามวัย การเรียน และการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย หากนักศึกษาพยาบาลมีทักษะการแก้ปัญหาทางสังคมที่มีประสิทธิภาพก็จะสามารถจัดการกับปัญหาที่เข้ามาได้อย่างดี ทำให้มีภาวะสุขภาพจิตที่ดีและไม่มีภาวะซึมเศร้า โครงการวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและการแก้ปัญหาทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลที่ศึกษาอยู่ในคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออก ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 650 คน ส่วนระยะที่สองเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อน การทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล 1 เดือน เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาต่อการแก้ปัญหาและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 60 คน ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินการแก้ปัญหาทางสังคม ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ .83 และโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมกราคมถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการวิจัยในระยะที่หนึ่งพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 32 โดยมีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางร้อยละ 18 และระดับรุนแรงร้อยละ 14 2. ผลการวิจัยในระยะที่สองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการแก้ปัญหาทางสังคมในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน (X ̅=106.20, SD.= 14.03 ;X ̅=106.77, SD.= 13.27) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ( ̅X=101.07, SD.= 9.34 ;X ̅=101.30, SD.= 9.48) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน (X ̅=13.30, SD.=4.63; ̅X=8.70, SD.=4.42) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ( ̅X=18.67, SD.=2.50 ;X ̅=18.00, SD.=3.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการแก้ปัญหาทางสังคมในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (X ̅=106.20, SD.=14.03) และระยะติดตามผล 1 เดือน (X ̅=106.77, SD.=13.27) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (X ̅=99.60, SD.=13.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (X ̅=13.30, SD.=4.63) และระยะติดตามผล 1 เดือน (X ̅=8.70, SD.=4.42) ต่ำกว่าระยะก่อนการทดลอง (X ̅=19.03, SD.=2.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลถือเป็นประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสำคัญที่คณาจารย์หรือบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ควรมีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิต เพื่อการประเมิน ช่วยเหลือ และติดตามภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลอย่างใกล้ชิด ตลอดจนนำโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาไปประยุกต์ในการส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางสังคมและลดภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยกลุ่มอื่นต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความซึมเศร้าth_TH
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล - - วิจัยth_TH
dc.subjectความซึมเศร้า - - การพยาบาลth_TH
dc.titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาต่อการแก้ปัญหาทางสังคมและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailduangjai@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpornpath@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsiripim@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsiriwanvat@gmail.comth_TH
dc.author.emailrussunan@gmail.comth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeNursing students are at risk for depression since they have to adapt themselves in various aspects such as developmental change, learning, and teaching styles, and university environment. If these students have effective social problem solving skills, they will have capacity to solve their problems leading to good mental health and no depression. This research project was divided into two phrases: First phrase is a descriptive research aimed as exploring depression and social problem-solving among 650 nursing students studying at the Nursing Faculty of one particular university in the Eastern part of Thailand in academic year 2017. The second phrase is the quasi-experimental research with pre-post and follow-up design focusing on testing the effects of problem-solving skill enhancement program on social problem-solving and depression among 60 nursing students with mild and moderate levels of depression. They were randomly assigned into either the experimental group (n = 30) and the control group (n = 30). The research instruments included the general information record form, the Center for Epidemiologic Studies Depression Scale, and the Social Problem Solving Inventory for Adolescents with Cronbach’s alpha of .89, and .83, and the Problem-solving skill enhancement program. The data collection were conducted from January to May, 2018. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measures ANOVA and pairwise comparison using Bonferroni method were employed for data analyses. The results revealed as follow: 1. In the first phase, the results showed that 32% of nursing students had depression in which 18 %t had mild and moderate depression and 14 percent had severe depression. 2. In the second phase, the results showed that the experimental group had the mean scores of social problem-solving at post-test and 1-month follow-up ( ̅=106.20, SD.= 14.03 ; ̅=106.77, SD.= 13.27) significantly higher than the control group ( ̅=101.07, SD.= 9.34 ; ̅=101.30, SD.= 9.48), p < .05. 3. The experimental group had the mean scores of depression at post-test and 1-month follow-up ( ̅=13.30, SD.=4.63; ̅=8.70, SD.=4.42) significantly higher than the control group ( ̅=18.67, SD.=2.50 ; ̅=18.00, SD.=3.43), p < .05. 4. In the experimental group, the mean scores of social problem-solving at post-test ( ̅=106.20, SD.=14.03) and 1 month follow-up ( ̅=106.77, SD.=13.27) were significantly higher than at the pre-test ( ̅=99.60, SD.=13.14), p < .01. 5. In the experimental group, the mean scores of depression at post-test ( ̅=13.30, SD.=4.63) and 1 month follow-up ( ̅=8.70, SD.=4.42) were significantly lower than the mean score at pre-test ( ̅=19.03, SD.=2.04), p < .05. The research findings indicate that depression among the nursing students is a major mental health issue that the faculty members or related health care providers should be concerned and develop the mental health services focusing on closely assessing, providing care, and monitoring depression among these students. They should also apply this program to enhance social problem-soling skills and decrease depression among the group of nursing students or other university students.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_024.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น