กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9280
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาส่วนสกัดน้ำจากเหง้าเร่วหอมเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Etlingera pavieana water extract as health care products
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เร่วหอม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ซึ่ง นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) ภาวะหลอดเลือดแข็งเกี่ยวข้องกับ endothelial dysfunction ที่เป็นผลให้มีชีวปริมาณของไนตริกออกไซด์น้อยลง และจัดเป็นโรคของการอักเสบเรื้อรัง ในปัจจุบันพบว่าส่วนสกัดจากพืชหลายชนิดสามารถป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งได้โดยการเพิ่มชีวปริมาณของไนตริกออกไซด์ รวมทั้งลดภาวะเครียดออกซิเดชัน และการอักเสบ ผลการศึกษาของเราก่อนหน้านี้พบว่าไนไตรท์ในอาหารเลี้ยงเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ EA.hy926 ที่สัมผัสกับส่วนสกัดน้ า (EPW1 EPW2 and EPW3) และส่วนสกัดเอทานอลจากเหง้าเร่วหอม (EPE) มีปริมาณเพิ่มขึ้นในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นส่วนสกัด EPE สามารถเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ eNOS ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ในขณะที่ส่วนสกัดน้ำทั้งหมดไม่ของเร่วหอมไม่สามารถเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ eNOS ในการศึกษานารวิเคราะห์ส่วนสกัดทั้งหมดจากเร่วหอม ด้วยเทคนิค HPLC พบว่าส่วนสกัดเองมีไนไตรท์และไนเตรทเป็นองค์ประกอบส่วนสกัดเอทานอล EPE ยังสามารถลดการแสดงออกของโปรตีนที่ตอบสนองต่อการอักเสบ ได้แก่ vascular cell adhesion molecule-1 (VCAM-1) และ intercellular adhesion molecule-1 (ICAM-1) ในเเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย TNF- ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น นอกจากนี้ส่วนสกัด EPE สามารถยับยั้งการฟอสโฟรีเลชันของเอนไซม์ JNK แต่ไม่มีผลต่อ ERK และ p38 MAPK ในเเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ส่วนสกัด EPE ยังเพิ่มระดับ phosphorylated Akt (Ser473) การแสดงออกของโปรตีน VCAM1 และ ICAM-1 เพิ่มมากขึ้นในเซลล์ที่บ่มกับสาร wortmannin ที่เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ Akt/PI3K และสาร SP600125 ที่เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ JNK และส่วนสกัด EPE เรายังพบว่าสารในส่วนสกัด EPE ที่เป็นสารออกฤทธิ์ต้านอักเสบในหลอดเลือด คือ สาร 4-methoxycinnamyl 4-coumarate (MCC) และ trans-4-methoxycinnamaldehyde (MCD) สาร MCC และ MCD ลดการแสดงออกของโปรตีน VCAM-1 และ ICAM-1 นอกจากนี้ยังทำการทดสอบผลของส่วนสกัด EPE ต่อการผลิต ROS ในเเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย TNF- โดย H2DCF-DA probe ส่วนสกัด EPE ยับยั้งการผลิต ROS ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น ผลการทดลองที่ได้ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดจากเหง้าเร่วหอมสามารถเพิ่มชีวปริมาณของไนตริกออกไซด์ โดยผ่านการยับยั้งการเกิดความเครียดจากออกซิเดชัน และการกระตุ้นการแสดงออกของเอนไซม์ eNOS รวมทั้งลดการอักเสบในหลอดเลือดผ่านวิถีสัญญาณ JNK และ Akt ในเเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดดังนั้นส่วนสกัดของเร่วหอมนี้อาจถูกนำไปพัฒนาเป็นอาหารเสริมเพื่อใช้ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9280
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_010.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น