กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/923
ชื่อเรื่อง: | ปฏิสัมพันธ์ทางนิเวศน์ระหว่างกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopeneaus vannamei) กับกุ้งท้องถิ่นของประเทศไทย ในระบบนิเวศจำลอง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วันศุกร์ เสนานาญ สุวรรณา ภาณุตระกูล นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กุ้งขาวแปซิฟิค ความเสี่ยงทางนิเวศน์วิทยา สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | แม้ว่าการนำกุ้งขาวแปซิฟิคซึ่งเป็นกุ้งต่างถิ่น เข้ามาทดแทนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จะเป็นทางออกหนึ่งของการแก้วิกฤตการเลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทย แต่การหลุดลอดของสัตว์น้ำต่างถิ่น อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นได้ ปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญสำหรับการอยู่รอด และที่อาจส่งผลกระทบทางนิเวศน์ของกุ้งขาวแปซิฟิค ได้แก่ พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงผู้ล่า และการแข่งขันใช้ทรัพยากรพื้นที่และอาหารร่วมกับกุ้งท้องถิ่น โครงการนี้จึงได้ ออกแบบการทดลองในระบบนิเวศจำลอง (ตู้กระจกขนาด 20 ลิตร และถังพลาสติกขนาด 65 ลิตร) เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้พื้นที่ การหลีกเลี่ยงผู้ล่า และการใช้ทรัพยากรอาหารของกุ้งขาวแปซิฟิค เทียบกับกุ้งท้องถิ่น ผลการทดลองในตู้กระจกพบว่า ในการทดลองที่มีกุ้งชนิดเดียว กุ้งขาวแปซิฟิคมีพฤติกรรมว่ายในมวลน้ำอยู่ตลอดเวลา (สภาวะตู้กระจก) คล้ายกับลักษณะการว่ายน้ำของกุ้งกุลาดำ (ได้มาจากการเลี้ยง) และกุ้งแชบ๊วย (ได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ) ในขณะที่การทดลองที่มีกุ้งอยู่ร่วมกัน 2 ชนิด คือกุ้งขาวแปซิฟิคและกุ้งท้องถิ่น กุ้งขาวแปซิฟิคมีระดับการเคลื่อนที่ (เดิน+ ว่ายน้ำ) ที่เพิ่มขึ้น (สัดส่วนของกุ้งที่มีการเคลื่อนที่มากกว่าค่ามัธยฐานของเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ เปลี่ยนจาก 0.23 ไป เป็น 0.38) เมื่ออยู่ร่วมกับกุ้งท้องถิ่นชนิดอื่น ในขณะที่กุ้งท้องิ่นชนิดอื่นมีการเคลื่อนที่ลดลงอย่างมี นัยสำคัญ (p>0.05, non-parametric rank tests) เมื่อพิจารณาผลของผู้ล่าต่อพฤติกรรมการว่ายน้ำ และอัตรารอดของกุ้ง ในตู้กระจก พบว่าการปรากฏของผู้ล่า (ปลากะพงขาว) ทำให้กุ้งทุกชนิดมีการเคลื่อนที่ลดลง (p<0.05) ทั้งในสถานการณ์ที่กุ้งอยู่แยกชนิดเดี่ยว ๆ และอยู่ร่วมกับกุ้งขาวแปซิฟิค และปลาสามารถจับกุ้งขาวแปซิฟิคได้มากกว่ากุ้งกุลาดำ แต่ไม่แตกต่างกับกุ้งแชบ๊วย อย่างไรก็ตาม ปลาจะจู่โจมกุ้งขาวมากกว่ากุ้งท้องถิ่นชนิดอื่น ๆ ในระยะเวลาเท่ากัน (แม้ว่าอาจไม่ประสบความสำเร็จในการล่าก็ตาม) สำหรับการทดลองประเมินอัตรารอดของกุ้งขาวแวนาไมจากผู้ล่า เทียบกับกุ้งแชบ๊วยซึ่งเป็นกุ้งพื้นเมืองของไทย โดยผันแปรวัสดุพื้นท้องน้ำ ระดับความขุ่น และปริมาณแหล่งหลบภัยในถังพลาสติก ที่มีและไม่มีผู้ล่า พบว่าอัตราการรอดของกุ้งทั้งสองชนิดในถังที่มีปลา มีค่าน้อยกว่าถังที่ไม่มีปลา (ชุดควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนในถังที่มีปลาและกุ้งอยู่ร่วมกันนั้น ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทดสอบไม่ได้ทำให้อัตรารอดของกุ้งขาวแวนาไมแตกต่างจากกุ้งแชบ๊วย ยกเว้นในการทดลองที่ผันแปรประเภทของวัสดุพื้นท้องน้ำ (ไม่มีวัสดุ ทรายละเอียด ทรายหยาบ และโคลน) ที่พบว่าในชุดที่มีผู้ล่ากุ้งขาวแวนาไมมีอัตรารอดสูงกว่ากุ้งแชบ๊วยอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ความแตกต่างกังกล่าว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุพื้นท้องน้ำกุ้งขาวสามารถกินอาหารธรรมชาติได้เหมือนกับกุ้งแชบ๊วย โดยพบอาหารทั้งหมดในกระเพาะอาหารได้ประมาณ 5 ประเภทคือ ไส้เดือนทะเล เศษเนื้อ เศษพืช สาหร่ายเซลล์เดียว และครัสเตเชีย-ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบเศษหินในปริมาณมากด้วย (เฉลี่ย 16.62-60.19 เปอร์เซ็นต์) เมื่อเทียบกับปริมาณอาหารที่กินไปไม่หมด) นอกจากนี้กุ้งขาวแปซิฟิคอาจมีข้อได้เปรียบในการแก่งแย่งอาหารเนื่องจาก มีอัตราการเจริญจำเพาะ (specific growth rate, % น้ำหนักต่อวัน, SGR) ที่กว่ากุ้งแชบ๊วยใน ชุดการทดลองในตู้กระจกที่อยู่แบบกุ้งชนิดเดียว และการทดลองที่กุ้งขาวแปซิฟิคอยู่ร่วมกับกุ้งท้องถิ่น (ค่า SGR ของกุ้งขาว = 1.08-1.75% กรัม ต่อวัน; SGR ของกุ้งแชบ๊วย = 0.28-0.91% กรัมต่อวัน) และอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งขาวไม่ได้ลดลงเมื่อมีการเพิ่มความหนาแน่นของกุ้งชนิดเดียวกันเอง หรือเมื่ออยู่กับกุ้งแชบ๊วย ในขณะที่กุ้งแชบ๊วยมีอัตราการเติบโตลดลงในกรณีที่อยู่ร่วมกับกุ้งขาวที่ความหนาแน่นสูง (3 ต่อ 3) และในกรณีที่สัดส่วนกุ้งแชบ๊วยต่อกุ้งขาว เท่ากับ 3 ต่อ 1 ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่ากุ้งขาวน่าจะมีความสามารถในอยู่รอดในธรรมชาติได้ดี เนื่องจากมีความสามารถในการหลบเลี่ยงการล่า ในระดับที่ใกล้เคียงกับกุ้งท้องถิ่นที่มีลักษณะการดำรงชีวิตคล้ายกุ้งขาว อีกทั้งมีความสามารถในการกินอาหารธรรมชาติได้คล้ายกับกุ้งแชบ๊วย นอกจากนี้กุ้งขาวแปซิฟิคอาจมีข้อได้เปรียบในการแก่งแย่งอาหาร เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโต ที่ดีกว่ากุ้งแชบ๊วย และไม่ได้รับผลกระทบจากการอยู่อย่างหนาแน่น (ไม่ว่าจะเป็นชนิดเดียวกันเองหรือกับชนิดอื่น) ดังนั้นการล่าจึงไม่น่าจะเป็นอุปสรรคในการอยู่รอดของกุ้งขาวแวนาไมในธรรมชาติ และกุ้งขาวอาจมีข้อได้เปรียบในการใช้ทรัพยากรอาหารในธรรมชาติ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/923 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_137.pdf | 28.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น