กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9225
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เมธี ธรรมพิภพ | |
dc.contributor.advisor | ดุสิต ขาวเหลือง | |
dc.contributor.author | รัชชุมาศ ขำจริง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T09:02:45Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T09:02:45Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9225 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของครูเอกชน กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของครูเอกชนโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์สอน และขนาดโรงเรียน ประชากรคือครูผู้สอนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 213 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบตรวจสอบรายการเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการพัฒนาตนเองของครูเอกชน กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.42, SD = 0.23) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านเงินเดือนและประโยชน์เกื้อกูลกัน ด้านความก้าวหน้า ด้านลักษณะของงาน ด้านความสำเร็จของงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการยกย่องนับถือหรือการยอมรับ ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา ด้านความรับผิดชอบ ด้านนโยบายและการบริหาร และด้านสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของครูเอกชน กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามเพศ พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเอกชนเพศชาย (µ = 4.44) สูงกว่าครูเอกชนเพศหญิง (µ = 4.42) จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเอกชนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี (µ = 4.48)สูงกว่าครูเอกชนที่มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาญาตรี (µ = 4.41) จำแนกตามประสบการณ์สอน พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการของครูเอกชนที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 5 ปี (µ = 4.43) สูงกว่าครูเอกชนที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี (µ = 4.42) เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเอกชนที่มีช่วงอายุ 36-45 ปี (µ = 4.46) สูงกว่าช่วงอายุ 46 ปีขึ้นไป (µ = 4.45) ช่วงอายุ ต่ำกว่า 25 ปีขึ้นไป (µ = 4.40) และช่วงอายุ 26-35 ปี (µ = 4.39) ตามลำดับ และจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเอกชนในโรงเรียนที่มีขนาดกลาง (µ = 4.46) สูงกว่าครูเอกชนในโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ (µ = 4.44) และ ครูเอกชนในโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก (µ = 4.34) ตามลำดับ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การพัฒนาตนเอง | |
dc.subject | ครู | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา --สาขาวิชาการสอนงานอาชีพและเทคโนโลยี | |
dc.title | การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของครูเอกชนกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | |
dc.title.alternative | The study on needs for self-development of the techers in occuption nd technology lerning re in privte school under the district eductionl office in prchup khiri khn province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were; 1) to examine the needs for self-development of the teachers in Occupation and Technology Learning area in private schools under the district educational office in Prachuap Khiri Khan Province, 2) to compare the needs for self-development of the teachers in Occupation and Technology learning area in private schools under the district educational office in Prachuap Khiri Khan Province classified by gender, age, educational degree, teaching experiences and size of school. The population was 213 teachers in Occupation and Technology learning area in private schools under the district educational office in Prachuap Khiri Khan Province The research instrument were checklist, rating scale and open-ended questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The findings were as follows: 1. The needs for self-development of the teachers in Occupation and Technology learning area in the private schools under the district educational office in Prachuap Khiri Khan Province both as a whole and each aspect were at high level (µ = 4.42, SD = 0.23). The aspects ranked from the highest to the lowest mean scores were salary, advancement, work itself, achievement, works conditions, recognition, interpersonal relation with superior, responsibility, company policy and administration, interpersonal relation, respectively 2. The results of comparison of the needs for self-development in Occupation and Technology learning area in the private schools under the district educational office in Prachuap Khiri Khan Province in term of gender between male and female, they were found that the average of male (µ = 4.44) was higher than female(µ = 4.42), in term of educational degree between bachelor degree and higher than bachelor degree, they were found that the average of higher than bachelor degree (µ = 4.48) was higher than bachelor degree (µ = 4.41), in term of teaching experience between less than 5 years and more 5 years, they were found that the average of teaching experience less than 5 years (µ = 4.43) was higher than teaching experience more 5 years (µ = 4.42). In term of age among less than 25 years, 26-35 years, 36-45 years and higher 46 years, they were found that the average of the teachers who were 36-45 years (µ = 4.46) was higher than higher 46 years (µ = 4.45), less than 25 years (µ = 4.40) and 26-35 years (µ = 4.39) respectively. In term of size of school, the small size of private school, the middle size of private school and the large size of private schools, they were found that the average of the teachers who work in the middle size of private schools (µ = 4.46) was higher than the large size of private schools (µ = 4.44) and the small size of private schools (µ = 4.34) respectively. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การสอนงานอาชีพและเทคโนโลยี | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58910244.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น