กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9213
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A met synthetic reserch on prior reserch in english reding skill development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์
รัฐพงศ์ สีแสด
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การศึกษา -- วิจัย
ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย ด้านการจัดการเรียนการสอนในห้อง ด้านแรงจูงใจในการอ่าน และด้านการรับรู้การอ่านส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไปยังทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน และตรวจสอบ ความตรงของโมเดล งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2561 จาก 21 มหาวิทยาลัย จำนวน 57 เล่ม โดยเป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ 7 เล่ม และงานวิจัยเชิงทดลอง 50 เล่ม ผลการวิจัยประกอบด้วยค่าดัชนีมาตรฐาน 225 ค่า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์อภิมาน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผ่าน ความยึดมั่นผูกพันต่อการอ่านไปยังผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยโปรแกรม ลิสเรล ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาศึกษา มีข้อมูลพื้นฐานคุณลักษณะที่เป็นตัวแปรในงานวิจัยที่นำมาศึกษามี 19 ตัวแปร ได้แก่ ช่วงปีที่พิมพ์เผยแพร่ผลวิจัย สถาบันที่ผลิตงานวิจัย หน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประเภทงานวิจัย ประเภทของสมมติฐาน แบบแผนการวิจัย การออกแบบงานวิจัย แหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประเภทของตัวแปรต้น ประเภทเครื่องมือวัดตัวแปรต้น ประเภทการหาค่าความเที่ยงวัดตัวแปรต้น ประเภทเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ประเภทการหาค่าความตรงวัดตัวแปรตาม ประเภทการหาค่าความเที่ยงวัดตัวแปรตาม และประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ค่าขนาดอิทธิพลของการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยของดัชนีมาตรฐานมีค่าเท่ากับ .447 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .282 ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากงานวิจัยทั้ง 57 เล่ม มีความแตกต่างกันตามลักษณะของงานวิจัยทุกตัว ยกเว้นแหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรจำนวนสมมติฐาน ตัวแปรดัมมี่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตัวแปรดัมมี่วัตถุประสงค์การวิจัยที่มีหลายแบบ ตัวแปรดัมมี่การตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง ตัวแปรดัมมี่งานวิจัยที่ออกแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อน-หลัง ตัวแปรดัมมี่การสุ่มหลายขั้นตอน ตัวแปรดัมมี่การสุ่มแบบกลุ่ม ตัวแปรดัมมี่แรงจูงใจ และความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม คะแนนประเมินงานวิจัยสัมประสิทธิ์ การถดถอยทางบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนตัวแปรตัวแปรดัมมี่วัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อศึกษา ตัวแปรดัมมี่ประเภทการหาความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม และ ตัวแปรดัมมี่การออกแบบวิจัยสหสัมพันธ์ ที่มีสัมประสิทธิ์การถดถอยทางลบและมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานได้ร้อยละ 60.80 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าดัชนีมาตรฐานแบบพหุระดับผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีความแปรปรวนรวมเท่ากับ .184 เกิดจากความแปรปรวนระหว่างเล่มโดยมีองค์ประกอบความแปรปรวน เท่ากับ .177 ส่วนภายในเล่มมีองค์ประกอบความแปรปรวนเท่ากับ .007 3. ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ในห้อง ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการอ่าน และปัจจัยด้านการรับรู้การอ่านส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (X2 = 54.77, df = 47, p = .20, X2/ df = 1.165, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, NFI = 1.00, NNFI = 1.00, RMSEA = .007, SRMR = .019) โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 41 อิทธิพลรวมของ ตัวแปรในโมเดลส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไปยังทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน มีค่าเท่ากับ .64 การจัดการเรียนการสอนในห้อง เท่ากับ .62 แรงจูงใจในการอ่าน เท่ากับ .37 และการรับรู้การอ่านเท่ากับ .35 ทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9213
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810116.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น