กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9211
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.advisorสรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ
dc.contributor.authorปิยะธิดา วรญาโณปกรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:40Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:40Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9211
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก 4) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออกการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่หนึ่งการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำ หรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 940 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 99 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .41 ถึง .80 ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .70 ถึง .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิจัยระยะที่สองการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อการศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูที่รับผิดชอบงานกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมจิตสาธารณะการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยการเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบก้อนหิมะเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บรวมรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตภาคตะวันออก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 18 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบการช่วยเหลือผู้อื่น 4 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบการดูแลสมบัติส่วนรวม 3 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบการเคารพสิทธิต่อส่วนรวม 3 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อส่วนรวม 4 ตัวบ่งชี้และ 5) องค์ประกอบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4 ตัวบ่งชี้ 2. การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากดัชนีวัดความสอดคล้องของโมเดล ได้แก่ 𝜒 2=250.24, df =99, GFI =0.97, AGFI= 0.95, CFI = 1.00, RMR = 0.017, RMSEA = 0.0040, x2 /df= 2.51 การประเมินความเหมาะสมของโมเดลการวัด พบว่า ค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง (ρc) มีค่าระหว่าง 0.83 ถึง 0.96 และค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่สกัดได้ (ρv) มีค่าระหว่าง 0.56 ถึง 0.82 แสดงว่า โมเดลการวัดมีความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ 3. การสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของตัวชี้วัดจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการแปลคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติและกำหนดระดับจิตสาธารณะเป็น 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนทีปกติสูงกว่า 69 คะแนน อยู่ในระดับสูงมาก, คะแนนทีปกติระหว่าง 57 ถึง 69 คะแนน อยู่ในระดับสูง, คะแนนทีปกติระหว่าง 44 ถึง 56 คะแนน อยู่ในระดับปานกลาง, คะแนนทีปกติระหว่าง 31 ถึง 44 คะแนน อยู่ในระดับต่ำ และคะแนนทีปกติต่ำกว่า 31 คะแนน อยู่ในระดับต่ำมาก 4. แนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ โรงเรียนควรกำหนดนโยบายเป้าหมายและแผนการปฏิบัติงานในการส่งเสริมจิตสาธารณะที่ชัดเจน และประกาศให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ นอกจากนี้ โรงเรียนควรให้การสนับสนุน เช่น การอบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียน การสร้างเครือข่ายกับชุมชน สนับสนุนด้านงบประมาณ สนับสนุนให้นักเรียนทำกิจกรรมตามความสนใจ มีการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ แนวปฏิบัติในการส่งเสริมจิตสาธารณะควรเริ่มจากการสร้างความตระหนัก และแรงจูงใจให้แก่ นักเรียนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และการเสียสละอย่างสม่ำเสมอควรมีการสร้างนักเรียนแกนนำ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีรูปแบบการส่งเสริมจิตสาธารณะสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาจัดร่วมกับกิจกรรมลูกเสือเนตรนารียุวกาชาด จัดเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรร่วมกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมชุมนุม หรือจัดกิจกรรมพิเศษในโอกาสสำคัญ ๆ ทั้งนี้ โรงเรียนควรดำเนินการส่งเสริมจิตสาธารณะแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นนิสัยติดตัวนักเรียนตลอดไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectจิตสาธารณะ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก
dc.title.alternativeDevelopment of indictors nd guidelines of public mind for lower secondry school students in the estern region, thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study were; 1) to develop public mind indicators for lower secondary school students in Eastern region, 2) to examine the consistency of the public mind indicators model for lower secondary school students in Eastern region with empirical data, 3) to develop the interpretation criteria of indicator scores for lower secondary school students in Eastern region, and 4) to study the public mind promotion guide line for lower secondary school students in Eastern region. The study was dividedly conducted into two phases. The first phase was the quantitative study. The samples of this phase were 940 students selected from two-tiered random sampling method. The instrument used was 5 scale rating questionnaires with 99 questions designed by the author. The questions had item discrimination power from .41 to .80, the reliability from.70 to .90. The statistics used for data analysis were basic statistics, Pearson correlation analysis, confirmatory factor analysis, and the investigation of congruence between the model and the empirical data. The second phase was qualitative study to investigate the public mind promotion guideline for lower secondary school students in Eastern region. The informants in this phase were the school administrators, and the teachers taking charge of public mind promotion for students of the schools which have the proper public mind promotion guideline. The informants obtained were from purposive sampling and Snowball sampling method. The instrument used in the study was semi-structured interview collecting the data from in-depth interviews with 15 main key informants. The findings of the study were as follows; 1. The public mind indicators for lower secondary school students consisted of 5 factors with 18 indicators. The factors with their indicators were as follows: 1) Helping others with 4indicators, 2) Public care with 3 indicators, 3) Respecting with 4 indicators, 4) Responsibility with 4 indicators and 5) Environmental conservation with 4 indicators. 2. The structural validity tests of the model of measuring public mind indicators for the lower secondary students were consistent with the empirical data when considered from 𝜒2 =250.24, df =99, GFI =0.97, AGFI = 0.95, CFI =1.00, RMR = 0.017, RMSEA = 0.0040, ( 𝜒2 /df)= 2.51 which is not over than 3. This revealed that the model of measuring of public mind indicators for lower secondary students in Eastern region had consistency in harmony with empirical data. The measurement of the appropriateness of the model revealed confidence value of hidden variables (ρc) was between 0.83 to 0.96 and mean of variance extracted (ρv) was 0.56 to 0.82. This means the model has confidence at an acceptable level 3. The development of the interpretation criteria of public mind indicator scores for the lower secondary school students by interpreting the raw scores into normal T standard score, and define public mind into 5 levels is appropriate to measure the students’ level of public mind. 4. The public mind promotion guideline for the lower secondary students in Eastern region are as follows: The schools should set up clear policy and action plan to promote public mind, and should announce them to every department. To achieve the successful policy movement, the school should provide the supports such as teachers’ training, students’ training, community connection building, budget, and students’ interest-base activities supporting. There also should be systemic monitoring and evaluation. Besides that, the priority of public mind promotion should be consistent instilling of moralities and ethics, and sacrifice. The schools should establish leader students to be the role models. There are various ways of public mind promotion such as the integration with school subjects, scouts, girl guides, youth red cross, extracurricular activities, students’ development activities, clubs, and other special occasion activities. If the schools consistently promote students’ public mind, it will become the students’ lifelong habit permanently.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810112.pdf3.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น