กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9207
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.authorไอลดา มงคลสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:39Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:39Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9207
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างแบบสอบวินิจฉัยโดยใช้วิธีลำดับขั้น ของคุณลักษณะ และตรวจสอบคุณภาพด้านความยาก อำนาจจำแนก ความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง และ 3) เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ตัวอย่างวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้จาก การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 360 คน และ 2) ครูฟิสิกส์ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหา วิชาฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ เนื้อหา และคำนวณคะแนนเชิงวินิจฉัย โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเบย์ การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยใช้การวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ ความยาก และอำนาจจำแนก โดยใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบ 2 พารามิเตอร์ ความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในด้วยวิธีของฮอยท์ ผลการวิจัย 1. นักเรียนมีข้อบกพร่องในการแก้โจทย์ปัญหา คือ 1) การอ่านและตีความโจทย์ 2) วิเคราะห์ ความหมายสัญลักษณ์ของตัวแปรของโจทย์ 3) ปัญหาการคำนวณหาค่าต่าง ๆ โดยหน่วยการเรียนรู้ ที่นักเรียนบกพร่องมากที่สุด คือ การเคลื่อนที่ 2. การสร้างแบบสอบวินิจฉัยด้วยวิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ (Attribute hierarchy method) ได้คุณลักษณะจำนวน 7 คุณลักษณะ และได้ Reduced Q Matrix (Qr) ที่มีจำนวนข้อสอบ 13 ข้อ คุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยที่สร้างขึ้นมีค่าความยากระหว่าง (-7.86) - 0.61 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.16 - 61.29 ความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในด้วยวิธี ของฮอยท์เท่ากับ .97 3. ผลการวินิจฉัยข้อบกพร่องส่วนใหญ่พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้อย่างชัดเจนในคุณลักษณะ ด้านความเข้าใจการอ่านโจทย์ และนักเรียนขาดความรอบรู้มากที่สุดในคุณลักษณะด้านการหาความเร่ง ของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบทดสอบวินิจฉัย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleการสร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรงโดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ
dc.title.alternativeA dignostic test construction of problem solving in physics rectiliner motion lerning through the ttribute hierrchy method
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to analyze errors found in learning physics among grade 12 students, 2) to develop a physics problem-solving diagnostic test, using attribute hierarchy method, and to verify the quality of the test in terms of item difficulty, item discrimination, content validity and reliability, 3) to analyze the strengths and weaknesses of grade 12 students in solving physics problems concerning adding and subtracting fractions. Samples were divided into two groups: group 1 a total of 360 grade 12 students selected by simple random sampling; group 2 a total of 5 primary school physics teachers selected by purposive sampling. The instruments used for data collection consisted of interview record forms and the physics problem-solving diagnostic test. The data were analyzed with descriptive statistics and content analysis. The diagnostic score calculation was conducted based on applied Bayes’ Theorem. The quality of the diagnostic test was verified through difficulty parameter analysis and discrimination, using 2 - parameter item response model, content validity and Hoyt’s reliability. The research results were; 1. Students showed errors in solving physics problems, namely: 1) reading and interpreting the problem, 2) analyzing the meaning of variable symbol in problem 3) problem in calculating various values. The unit that the students had errors most is motion. 2. The developed physics problem-solving diagnostic test using attribute hierarchy methods, has 7 hierarchy and Reduced Q Matrix (Qr) with 13 items.The diagnostic test has its item difficulty at (-7.86) - 0.61. The item discrimination is between 0.16 - 61.29. The content validity is 1.00. Hoyt’s reliability is 0.97. 3. The majority of defect diagnosis was that students have mastery in attribute of problem reading comprehension, but students lack of mastery in attribute of calculating acceleration of rectilinear motion.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920710.pdf1.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น