กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9194
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.advisorเสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.authorธนภูมิ ธรรมบุตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:35Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:35Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9194
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวม และจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน ที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวม และจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษา 4) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลลักษณะของกลุ่มเพื่อน ที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,080 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ตามลำดับ โดยระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำจกว่าจากนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าจากนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 2. ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์ การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.278 และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.8 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากสุดในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และน้อยสุดในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 3. การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางบวกต่อทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.296 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.8 เมื่อจำแนกตามระดับชั้นโดยพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด ในขณะที่การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.079 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.6 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด 4. ลักษณะของกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางบวกต่อทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.061 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.4 เมื่อจำแนกตามระดับชั้น โดยพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด ในส่วนลักษณะของกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.590 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.4 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
dc.subjectทัศนคติ
dc.subjectเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- ผลกระทบต่อสังคม
dc.titleทัศนคติและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeAttitude nd peer influences on lcohol consumption behviors of secondry school students in chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were; 1) to compare the influences of attitude toward alcohol consumption and behaviors of alcohol drinking of the secondary school students, 2) to analyze the influences of attitude toward alcohol consumption on the alcohol drinking behavior of secondary school students in terms of overall and grades, 3) to analyze the influencing of a subject norm on the alcohol drinking behavior of students both overall and grades, and 4) to analyze the influence of peers on the attitude toward drinking and drinking behavior among the students. The sample consisted of 1,080 grade 7-12 students who were selected by multi-stage random sampling technique from schools in Chonburi Province. The instrument was a questionnaire on attitude toward alcohol drinking, peer influences, and alcohol drinking behaviors. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, multivariate analysis of variance (MANOVA), and Multiple Regression Analysis. The research findings were as follows; 1. The attitude toward alcohol consumption and drinking behaviors of the students were significantly different at .05 (F-ratio = 14.390, p-value = 0.000). Both attitudes toward alcohol consumption and alcohol drinking behavior of grade 7 students were significantly lower than other grades (F-ratio = 4.044, p-value = 0.001). 2. The attitude towards alcohol drinking significantly influenced alcohol drinking behavior with a regression weight at 0.278 and can be explained the variance of alcohol drinking behavior at 7.8% (R-square = 0.078). When considered by grade level, it was found that the attitude towards alcohol drinking highly affected the drinking behavior of grade 7 students and the lowest was grade 10 students. 3. The subject norm was positively affected on the attitude toward alcohol drinking significantly with a standardized regression weight at 0.296 and can explaine the variance of the attitude toward alcohol drinking at 8.8% (R-square = 0.088). The influences of the subject norm on drinking behavior was found the highest for grade 9 students and lowest for grade 11. On the other hand, the subject norm was significantly negatively affected on alcohol drinking behavior with a standardized regression weight at -0.079 and can explaine the variance of the alcohol drinking behavior at 0.6 %. When considered by grade level, it was found that the subject norm highly affected the drinking behavior of grade 7 students and the lowest was grade 12 students. 4. Finally, the peer characteristics positively affected the attitude toward alcohol drinking significantly with a standardized regression weight at 0.061 and can explaine the variance of the attitude toward alcohol drinking at 0.4%. The influences of the peer characteristics on drinking behavior was found the highest for grade 10 students and lowest was grade 8. On the other hand, the peer characteristics were not significantly negatively affected on alcohol drinking behavior with a standardized regression weight at -0.590 and can explaine the variance of the alcohol drinking behavior at 0.4 %. When considered by grade level, it was found that the peer characteristics highly affected the drinking behavior of grade 7 students and the lowest was grade 11 students.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910154.pdf1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น