กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9192
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of progrm for promoting executive functions of the brin by neuro-linguistic progrmming for secondry school students with internet ddiction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
เกรียงไกร วิลามาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้
สมอง -- การทดสอบ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนมาบตาพุด พันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ที่มีคะแนนการเสพติดอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ 51 คะแนนขึ้นไป จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มตัวอย่าง โดยการจับคู่คะแนนหน้าที่บริหารจัดการของสมองจากแบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง 64 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง 64 2) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วยการสำรวจพฤติกรรม-แบบรายงานตนเอง ฉบับภาษาไทย 3) แบบทดสอบการเสพติดอินเทอร์เน็ต และ 4) โปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 6 ครั้งครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่าง ทำการทดสอบด้วยวิธีทดสอบรายคู่แบบบอนเฟอรโรนี ผลการวิจัยพบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 3) กลุ่มทดลองมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมอง โดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสมีประสิทธิภาพในการเพิ่มหน้าที่บริหารจัดการของสมอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9192
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910142.pdf10.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น