กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9189
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมความจำใช้งานเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of working memory prgrm to enhnce vocbulry memory bilities for primry school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
วัชรี ปุณขันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาอังกฤษ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ -- คำศัพท์ (ประถมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความจำใช้งานเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบ่อวิน (ลิขิตราษฎร์บำรุง) จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความจำใช้งาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที รวม 8 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมการเรียนรู้จากโรงเรียน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมความจำใช้งาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยกิจกรรมการฝึกการจำคำศัพท์ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการระหว่างแนวคิดของหลักความจำใช้งาน และทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์ 2) แบบทดสอบ Corsi blocks และ 3) แบบทดสอบการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 15 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนทดลอง และหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบสถิติ Mann - Whitney test และ Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมความจำใช้งานเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา หลังการทดลองพบว่ามีคะแนนเฉลี่ย Memory span และ Exam สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมความจำใช้งานเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ย Memory span และ Exam หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9189
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910147.pdf6.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น