กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9151
ชื่อเรื่อง: | สภาวะมนุษย์ในปรัชญากฤษณมูรติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Humn condition in krishnmurti ’s philosophy |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สกุล อ้นมา ชัยณรงค์ ศรีมันตะ ชญาดา ราศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปรัชญาอินเดีย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดสภาวะมนุษย์ในปรัชญาอินเดียและแนวคิดสภาวะมนุษย์ในปรัชญากฤษณมูรติโดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร วีดิทัศน์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์และนำเสนอในเชิงพรรณาผลการวิจัยพบว่า สภาวะมนุษย์ในปรัชญาอินเดียทั้งอาสติกะและนาสติกะ สามารถแบ่งออกเป็นทั้งด้านร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นปัจจัย ที่สัมพันธ์กัน ปรัชญาอินเดีย มีจุดประสงค์หลักในชีวิตคือการกลับไปรวมกันกับความเป็นจริง ขั้นสูงสุด โดยอาศัยแนวทางการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องชอบธรรม ส่วนสภาวะมนุษย์ในปรัชญา กฤษณมูรตินั้น สามารถมองได้หลายมิติ กล่าวคือ มนุษย์มีความกลัว ความอยาก ความทะเยอทะยาน ความริษยา ความอ้างว้างเดียวดาย การหลบหนี ความเคยชิน ความสับสน ความตายการตื่นรู้ ความเป็นจริง ความรักเสรีภาพ รวมเป็นความทุกข์ที่มีความขัดแย้งกันอยู่นับตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตของมนุษย์เราเป็นเพียงภาพสะท้อนของสภาวะภายในตนเองแต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์สามารถเข้าถึงอิสรภาพได้โดยอาศัยภาวะจิตที่มีการตื่นรู้เพื่อเกิดสมาธิและมีปัญญา ประการสำคัญ กฤษณะมูรติไม่ต้องการให้ผู้คนยึดติดในแนวคิดของเขา เพราะเขาเชื่อว่า มนุษย์แต่ละคน สามารถเป็นครูและศิษย์ของตนเองได้ มนุษย์ควรแสวงหาและสืบสวนสิ่งต่าง ๆ อย่างที่มันเป็นโดยปราศจากการตัดสิน ถูกผิด ดีชั่วมนุษย์จึงสามารถเรียนรู้ได้จากอดีต ใช้หลักสำคัญ คือ การสังเกตวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบตนเองตลอดเวลา การค้นหาเข้าไปข้างในและในที่สุดก็จะสามารถปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากสภาวะต่าง ๆ ได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9151 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920788.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น