กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9147
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภูมิพัฒน์ ภาชนะ
dc.contributor.advisorกฤษนัยน์ เจริญจิตร
dc.contributor.authorศราวุธ เตียงกูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:11Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:11Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9147
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractไทยตอนบนเป็นแหล่งรองรับธาตุอาหารจากแม่น้ำสายหลัก มีลักษณะเป็นอ่าวกึ่งปิดทำให้การหมุนเวียนและการถ่ายเทของมวลน้ำเกิดขึ้นได้น้อยส่งผลให้การกระจายตัวของสารอาหารสูงอยู่รวมกันได้นาน โดยเฉพาะช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนสูงจะเกิดการชะล้างธาตุอาหารลงสู่แหล่งน้ำเป็นเหตุให้เกิดภาวะยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ด้วยอุปกรณ์ตรวจวัด MODIS บนดาวเทียม AQUA กับปริมาณธาตุอาหารบนลุ่มน้ำย่อยด้วยแบบจำลอง อุทกวิทยาเชิงกายภาพ (SWAT) บริเวณอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย ในช่วงปีพ.ศ. 2555-2559 ผลการศึกษาพบว่า ดาวเทียม Aqua MODIS มีประสิทธิภาพในการตรวจวัดข้อมูลคลอโรฟิลล์-เอที่ผิวทะเล โดยปริมาณคลอโรฟิลล์-เอที่ผิวทะเลอ่าวไทยตอนบนในรอบปีมีความหนาแน่นสูงในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และมีค่าต่ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และปริมาณน้ำฝน ก่อนหน้าหนึ่งเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น และพื้นที่ป่าไม้ ลดลง มีผลต่อลักษณะการไหลของน้ำท่าและการชะล้างธาตุอาหารบนพื้นดิน ส่งผลให้ปริมาณ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเปลี่ยนไปบนลุ่มน้ำย่อยบริเวณอ่าวไทยตอนบนของแบบจำลอง SWAT ค่าเฉลี่ยปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสบริเวณอ่าวไทยตอนบนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ไม่แตกต่างกันในแต่ละสถานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และยังพบว่าปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงในช่วงเวลาหนึ่งจะส่งผลทำให้มีปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ที่ผิวทะเลหนาแน่นขึ้นในเวลาต่อมา ประสิทธิภาพการประเมินปริมาณธาตุอาหารของแบบจำลอง SWAT บนลุ่มน้ำย่อย บริเวณอ่าวไทยตอนบน ยังไม่มีความถูกต้อง แม่นยำตรงกับสภาพลุ่มน้ำจริงมากนัก เนื่องจากมีข้อจำกัด ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดในพื้นที่จริงไม่อาจนำมาใช้เป็นตัวแทนข้อมูลในการปรับเทียบได้ แต่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานไปสู่การวางแผนการจัดการลุ่มน้ำ การแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ และป้องกันผลกระทบจากการเกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่นได้ในอนาคต
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectยูโทรฟิเคชัน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.subjectชีววิทยาน้ำจืด
dc.titleการติดตามปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่นโดยการใช้ข้อมูลหลายช่วงคลื่นจากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย
dc.title.alternativeThe monitoring of eutrophiction using multi-stellite dtin the upper gulf of thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe Upper Gulf of Thailand is known to supporting of the nutrient transportation from the main rivers. The semi-closed estuaries and current circular are shaped of this Upper Gulf. Thus the nutrient is more stocked in this area. Moreover, the Eutrophication is extremely potential occurred and may negative effected to the bio-aquatic in this area. The objective of this study is to investigation to the relationship of between the temporal variations of sea surface chlorophyll-a of Aqua MODIS data recorded from 2012 to 2016 and Spatial Dispersion Evaluation of Nutrient by the SWAT model from Sub-basin to The Upper Gulf of Thailand. The result showed that variations in averaged sea surface chlorophyll-a that high values in October and November and low values in February. The results from correlation analysis indicated that there are positive relationships between chlorophyll-a concentrations and Rainfall the previous month at significance (p<0.05), Aqua MODIS effective measurement sea surface Chlorophyll-a. The changes of land use in residential and agricultural areas have increased and reduced forest area affected the flow characteristics of streams (runoff) and nutrient leaching on the ground, resulting in changes in nitrogen and phosphorus content in sub-basins of Upper Gulf of Thailand by the SWAT analysis model. phosphorus and Nitrogen showed no significantly different between seasons each station (p < 0.05). Excessive amounts of nitrogen and phosphorus can cause that variations in averaged sea surface chlorophyll-a that high values The SWAT analysis model is not suitable for evaluation of nutrient from sub-basin to The Upper Gulf of Thailand cause of data limitations, the data obtained from on-site (site survey) measurements can sometimes not be used to represent calibration data. However, in this study can be used as basic information for watershed management planning or solving water quality problems and preventing the impact of Eutrophication phenomenon to sub-basin’s The Upper Gulf of Thailand in the future.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910218.pdf10.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น